แปลตำรา Price Action

รวบรวม Link การแปลตำรา Price Action จนถึงปัจจุบัน(5 ตอน)
เพื่อความสะดวกสำหรับทุกท่านในการอ่าน การแปลตำราเล่มนี้ ผมจึงได้ทำการรวบรวม Link ทั้งหมดไว้ที่เดียวกันให้นะครับ

—————————————————————————–
Price Action เป็นวิธีเทรดที่ให้กำไรดีมาก แต่เป็นศาสตร์ที่ค่อนข้างยาก จึงยังไม่ค่อยมีหนังสือภาษาไทยเกี่ยวกับ Price Action ให้เราได้ศึกษากัน, ผมจึงแปลหนังสือตำรา PA เล่มนี้ให้พวกเราได้อ่านกันนะครับ “Reading PRICE CHART … for Serious Trader” จากนี้ผมขอเรียกสั้นๆว่าตำรา Price Action นะครับ
—————————————————————————–
วางไว้ที่เดิมคือ ChiangMai Forex นะครับ
[Price Action] Part 1 : Something extra about Candle stick http://cmforex.blogspot.com/2012/06/1-1.html
[Price Action] Part 2 : Signal Bar http://cmforex.blogspot.com/2012/07/chapter-1-part-2-signal-bar.html
[Price Action] Part 3 : False Reversal Bar http://cmforex.blogspot.com/2012/07/chapter-1-part-3-signal-bar-false.html
[Price Action] Part 4 : Other Reversal Signal Bar (รูปแบบการกลับตัวอื่นๆ) http://cmforex.blogspot.com/2012/09/4-other-reversal-signal-bar.html
[Price Action] Part 5 : ii Signal Bar (รูปแบบการกลับตัวอื่นๆ) http://cmforex.blogspot.com/2012/09/price-action-part-5-ii-signal-bar_14.html
—————————————————————————–

เคล็ดลับในการพิชิตหุ้น

เคล็ดลับในการพิชิตหุ้น

Clipped from: http://www.richerstock.net/rs/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=37

เคล็ดลับในการพิชิตหุ้น

เคล็ดลับในการเอาชนะตลาดหุ้นและสามารถทำเงินในตลาดได้อย่างน่าพอใจ แต่ในความเป็นจริงแล้ว investors ส่วนมากจะรู้และเข้าใจกฎ หรือเคล็ดลับนั้นๆ แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่สามารถทำตามเคล็ดลับนั้นๆได้ ดังนั้นหากเรายึดเคล็ดลับหรือวิธีการลงทุน ที่เราคิดว่าเป็น model ที่เหมาะสมกับตัวเราแล้ว ขอให้ ยึดถือและปฏิบัติตามเคล็ดลับให้ได้ แน่นอนความสำเร็จย่อมมาถึงตัวเราแน่นอน ผมขอนำเสนอเคล็ดลับที่ไม่ลับ ( ไม่ลับเพราะเป็นเคล็ดที่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จอย่างมากๆเขาทำกัน ) เพื่อพิชิตหุ้นดังนี้
-เลือกหุ้นพื้นฐานดี –
-เข้าตลาดให้ถูกจังหวะ-
-ตัดขาดทุน ถ้าหุ้นไม่วิ่ง-
-ปล่อยให้ราคาหุ้นวิ่ง ถ้ายังมีกำไร-
-เล่นตามกระแส เพราะทวนกระแสมีแต่เจ็บ-
-อย่าซื้อเฉลี่ย ถ้าราคาหุ้นตก เพราะจำทำให้ยิ่งถลำลึก-

เคล็ดลับทั้ง 6 ข้อนี้รับรองได้ว่าสามารถเอาชนะตลาดได้แน่นอน เพราะตัวมันเองค่อนข้างsimple มาก แต่สิ่งที่ยากที่สุดก็คือตัวนักลงทุนนั่นเองที่ไม่สามารถปฏิบัติตามกฎได้ ดังนั้นนักลงทุนต้องมีความพร้อมในการเล่นหุ้น สิ่งที่นักลงทุนควรมี หรือ ต้องมีคือ
– ต้องมีความรู้เรื่องการลงทุน และ ความรู้เรื่อง Technical Analysis พอสมควร
– ต้องมี discipline ในการลงทุน

รายละเอียดของเคล็ดลับ

1.) เลือกหุ้นพื้นฐานดี

คุณทราบหรือไม่ว่าคุณจะซื้อหุ้นตัวไหน ซื้อด้วยเหตุผลอะไร บางท่านลงทุนระยะยาว ก็จะซื้อหุ้นที่มีพื้นฐานดี ซื้อแล้วซื้อเลยเก็บใส่เซฟ ไม่ต้องมาคอยนั่งดูราคาหุ้นที่มันขึ้นๆลงๆในแต่ละวัน หรือแต่ละสัปดาห์

ผมเชื่อว่านักลงทุนในบ้านเราส่วนมากมี style การเล่นหุ้นแบบระยะสั้น หรือเก็งกำไร ( ตามข้อมูลของ กลต.ปรากฏว่า 70% ของนักลงทุน เป็นนักลงทุนประเภทระยะสั้น )

การเล่นรอบสั้น น่าศึกษาให้ดี เพราะถ้าสามารถ control มันได้ ก็จะสามารถ trade หุ้นได้หลายรอบ และถ้ามองโลกในแง่ดี เราจะสามารถทำกำไรได้หลายรอบเลยทีเดียว

การเลือกหุ้นที่มีพื้นฐานดี ( Fundamental Analysis ) ควรดูปัจจัยดังนี้

KEY Meaning
Financial Statement บอกสถานภาพของบริษัทๆนั้นว่ามีสุขภาพแข็งแรง หรือป่วยเป็นโรคร้ายแรงหรือเปล่า อันนี้ต้องใช้เวลาศึกษา เพราะ financial statement analysis เป็นวิชาที่ยากวิชาหนึ่งของการเงิน
P/E ratio Price- Earning Ratio
เป็นตัวเลขอัตราส่วนระหว่าง ราคาหุ้น ณ วันที่เราต้องการซื้อ หารด้วย กำไรต่อหุ้นของหุ้นตัวนั้นๆ แน่นอน P/E ratio ยิ่งต่ำ ก็ยิ่งดี เพราะว่ามันหมายถึง ราคาหุ้นตัวนั้นไม่แพง โดยทั่วไปจะดูกันที่ P/E=10
P/BV ratio Price-Book Value ratio
Book Value คือราคาเริ่มต้นต่อหุ้นในการจัดสรรหุ้นตอนต้น หรือตอนเริ่มทำธุรกิจ P/BV ยิ่งต่ำ ก็ยิ่งดี แสดงว่าหุ้นตัวนั้นๆ มีราคาถูก ยิ่งหากถ้า P/BV ratio ต่ำกว่า 1 นั่นหมายถึงว่า เราสามารถซื้อหุ้นตัวนั้น ได้ถูกว่าผู้ก่อตั้งบริษัทเสียอีก
Business Type ประเภทของธุรกิจ เป็นแบบไหน กิจการสามารถยั่งยืนอยู่ได้ชั่วลูก ชั่วหลานหรือไม่

เมื่อเลือกหุ้นที่มีพื้นฐานดีได้ดั่งใจที่ต้องการแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือเราก็เลือกหุ้นพื้นฐานดีตัวนั้นๆ มาเล่นระยะสั้น ถึง ปานกลางกันดีกว่า ( วิธีนี้จะต่างจากนักลงทุนระยะยาวที่เรียกว่า intrinsic value investor ) ส่วนท่านใดที่ต้องการลงทุนระยะยาวก็ไม่ว่ากัน เพียงแต่ถ้าคุณเป็นนักลงทุนระยะยาวก็คงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องคอยเฝ้าดูราคาหุ้นเป็นประจำ

การเลือกหุ้นพื้นฐานดีมาเล่นระยะสั้น-กลาง จะเป็นเกราะป้องกันให้เราอีกชั้นหนึ่ง กรณีที่หุ้นตัวนั้นเกิดผันผวนด้านราคา

2.) เข้าตลาดให้ถูกจังหวะ

จริงๆ แล้วการเข้าตลาดหุ้นก็เหมือนกับเข้าตลาดสด คำถามคือว่าคุณจะไปจ่ายตลาดในตอนกลางวันหรือกลางคืน แน่นอนถ้าคุณไปตลาดสดตอนกลางคืนคุณจะหาซื้ออะไรได้บ้างครับ ?

ก่อนที่คุณจะเข้าซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งนั้น คุณต้องรู้ให้แน่ชัดมากที่สุดเท่าที่จะรู้ได้ว่า หุ้นที่จะซื้อ หรือขายนั้นอยู่ใน status ไหน เป็นช่วงขึ้น ( Bullish ) หรือช่วงลง ( Bearish ) หรือ ทรงๆ ( Sideway )การที่คุณเข้าตลาด หรือเข้า trade ผิดจังหวะ แน่นอน เริ่มต้นก็ผิดแล้ว ดังนั้นช่วงนี้ถือว่าสำคัญยิ่งนัก เข้าตลาดถูกจังหวะ ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว

Status ของราคาหุ้นนแบ่งเป็น 3 ช่วงคือ
– Bullish State ( ภาวะกระทิง )
– Sideway State ( ภาวะทรงตัว )
– Bearish State ( ภาวะหมี )

ขอยกตัวอย่างจริงของหุ้น BIGC ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2545

Bullish State

รูปที่ 1 แสดงภาวะกระทิง bullish ของหุ้น BIG-C

จากรูปที่ 1 : ราคาหุ้นของ BIGC ช่วงนี้เป็นช่วงขาขึ้น หรือเรียกว่า bullish state มีสิ่งที่ควรสังเกตุคือ เส้นค่า เฉลี่ย MA12 จะอยู่เหนือ MA26 ตลอดช่วง และเมือลากเส้น trend lineระหว่างจุดต่ำของราคา เส้น trend line มีแนวโน้มทแยงขึ้น

Sideway State

รูปที่ 2 แสดงภาวะทรงตัว ( sideway ) ของหุ้น BIG-C

จากรูปที่ 2: ช่วงนี้เป็นช่วง sideway โดยที่ราคาหุ้นมีแนวโน้มขึ้นและลงสลับกันเป็นระยะ สังเกตุจากการลากเส้น trend line เชื่อมระหว่างจุดสูงของราคา 1 เส้น และลากเส้นเชื่อมระหว่างจุดต่ำของราคาอีก 1 เส้น เราจะเห็นว่าราคาหุ้นมันขึ้นๆลงๆในช่วงนี้

Bearish State

รูปที่ 3 แสดงภาวะหมี ( bearish ) ของหุ้น BIG-C

จากรูปที่ 3: เป็นช่วง Bearish State หรือขาลงนั่นเอง ที่ช่วงนี้ เส้นค่าเฉลี่ย MA12 จะอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 26 เกือบตลอดช่วง ซึ่งจะตรงข้ามกับช่วง Bullish State และหากเราลากเส้นเชื่อมระหว่างจุดสูงของราคาก็จะเกิดเป็นเส้นตรงที่มีแนวโน้มลง

3.) ตัดขาดทุน

ถ้าคุณเข้าตลาดผิดจังหวะโดยราคาหุ้นมันลงต่ำกว่าราคาที่ซื้อมา แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร มีหลายท่านคิดแบบนี้

“ ไม่เป็นไร หุ้นมีตก ก็ต้องมีขึ้น “

“ ไม่กล้าขาย เพราะราคามันต่ำมาก “

” ขายตอนนี้กลัวเสียฟอร์ม “

เหตุผลมีอีกมากมายที่กล่าวไม่หมด เอาเป็นว่า ทุกๆคำกล่าวนั้น อย่ในสถานะเหมือนกัน คือขาดทุน ทีนี้หากขาดทุนแล้วควรทำอย่างไร อันนี้สิเป็นสิ่งที่น่าคิดน่ายึดถือเป็นหลักปฏิบัติ

นักลงทุนระดับมืออาชีพส่วนใหญ่เขามีกติกาในใจที่ค่อนข้างเหมือนกันคือ ตัดขาดทุน STOP LOSSES หรือ CUT LOSSES แต่จะต่างกันตรงที่แต่ละท่านอาจจะตัดขาดทุนไม่เท่ากัน ซึ่งเท่าที่พบเห็นบ่อยก็มี 3% 5% 10%

การเล่นหุ้น ก็เหมือนกับ การทำธุรกิจทั่วๆไป คือ มีความเสี่ยง เมื่อเรามั่นใจว่าเราเข้าตลาด หรือซื้อหุ้นในจังหวะที่เหมาะสมแล้ว แต่เหตุการณ์มันกลับย้อนศรสวนความคิดเรา โดยราคาหุ้นที่เราซื้อกลับล่วงลง ดังนั้นหากเราป้องกันความเสี่ยงในระดับที่เราสามารถรับได้ หรือไม่กระทบกับ port ของเรามากนัก เราก็ควรจะรีบดำเนินการทันที นั่นคือ ต้อง stop losses ทันทีที่ราคามันลงมาถึงระดับ target ที่ตั้งไว้

ตัวอย่างเช่น เราซื้อหุ้น ABC 1,000 หุ้น หุ้นละ 200 บาท ราคาซื้อไม่รวมค่า broker เท่ากับ200,000 บาท เราตั้ง stop losses ไว้ที่ 5% ดังนั้น หากมูลค่าเงินของเราลดลงเหลือ 190,000 บาท เราต้องรักษาวินัยอย่างเคร่งครัด โดยการการขายหุ้นนั้นเสียทันที

ข้อแนะนำ

จากรูปที่ 1,2,3 เราก็พอจะมองออกแล้วว่า การเข้าตลาดนั้นควรจะเข้าช่วงไหนผมมีข้อแนะนำดังนี้

1. คุณต้องเข้าตลาดในช่วงที่ตลาดเป็นช่วงขาขึ้น ( BULLISH STATE ) เพราะในช่วงนี้ซื้อหุ้นอย่างไร ก็มีกำไร
2. ถ้าตลาดอยู่ในช่วง sideway คุณก็สามารถทำกำไรได้ในช่วงสั้น แต่ก็ต้องซื้อขายเร็วและระวัง
3. ถ้าไม่มั่นใจ อย่าเข้าตลาดในช่วงขาลง ( BEARISH STATE )เพราะอัตราการลงของราคาจะเร็วกว่าอัตราการขึ้นของราคา นั่นหมายถึงว่า คุณจะมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก แต่ถ้าหากคุณมีเวลาเฝ้ามันได้ทั้งวัน อันนี้ก็สามารถทำกำไรช่วงสั้นๆ ได้เหมือนกัน

รูปภาพแสดงการตัดขาดทุน

ถ้าคุณเข้าตลาด(ผิดจังหวะ) ที่ตำแหน่งเลข 1และราคาหุ้นได้ดิ่งลงมาจากวันที่คุณซื้อ กรณีที่เราตั้งตัวเลขขาดทุนที่ระดับที่คุณยอมรับได้ เมื่อราคาหุ้นตกลงมายังตำแหน่งเลข 2 คุณต้องตัดขายขาดทุนทันที เพื่อควบคุมการขาดทุนมากกว่านี้

4.) ปล่อยให้ราคาหุ้นวิ่ง

ตามที่ได้แนะนำว่า การเข้าตลาดควรเข้าตลาดช่วงที่เป็นขาขึ้น Bullish State ถ้าหุ้นที่เราซื้อมีกำไร เราก็ควรปล่อยให้หุ้นมันวิ่งไปเรื่อยๆ อย่าเพิ่งขายมันออกไป เพราะ

– ในช่วงขาขึ้นจะมีการปรับฐาน ( retracement ) เป็นระยะๆ แต่หลัง retrace แล้วมันก็จะ rebound ขึ้น ซึ่งอัตราการขึ้นหรือเด้ง ( rebound ) มันจะเร็วกว่า อัตราการลง ( retrace )

– ในแง่การวิเคราะห์หุ้นที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยอาศัย Elliot Wave Analysis พบว่า ช่วงขาขึ้นจะฟอร์มตัวเป็นลูกคลื่นจำวน 3 ลูก ส่วนช่วงขาลง มันจะฟอร์มตัวเป็นลูกคลื่น 2 ลูก ดังนั้นหากลูกคลื่นที่อยู่ในช่วงตลาดขาขึ้นกำลังฟอร์มตัวลูกที่ 1 และคุณก็เข้าตลาดช่วงนี้พอดี ดังนั้นคุณยังสามารถถือหุ้นนั้นไปได้จนถึงราคาหุ้น ณ ลูกคลื่นที่ 5 ได้ และมีกำไรสูงสุด นี่สิเรียก “ Let The Profit Run “

ปล่อยให้ราคาหุ้นวิ่งกรณีที่คุณเข้าตลาดถูกจังหวะที่ตำแหน่งเลขที่ 1 และคุณก็รู้ว่าคุณเข้าตลาดช่วงที่เป็น Bullish State และมันเป็นช่วงที่เพิ่งเริ่มต้นของ state นี้ เมื่อราคาหุ้นขยับขึ้นมาที่ตำแหน่งเลขที่ 2 คุณอย่าเพิ่งรีบร้อนขายหุ้นทิ้งออกไป เพราะตำแหน่งที่ 2 คุณก็ยังมีกำไร และมีโอกาสที่จะมีกำไรต่อไปด้วย เพราะราคาหุ้นมันจะขึ้นเป็นลูกคลื่น 3 ลูก ( ตามสถิติ )ดังนั้นรอให้ราคาหุ้นมันขึ้นไปที่ตำแหน่งเลขที่ 3ก่อนค่อยขายหุ้นออกไป

คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าราคาหุ้นมันมาถึงจุดยอดหรือยัง เรื่องนี้มันมีทฤษฎีที่สามารถ forecast ได้ คือ Elliott Wave Theory

5.) เล่นตามกระแส

สุภาษิตไทยที่มีความหมายดีๆมีมากมาย และหนึ่งในนั้นที่สามารถนำมา apply กับตลาดหุ้นได้ก็คือ “หลิวลู่ลม “ หรืออีกสำนวนหนึ่ง “ เข้าเมืองตาหลิ่ว ให้หลิ่วตาตาม “ ความหมายมันคือ พยายามทำตัวให้กลมกลืน อย่าไปฝืนสถานการณ์ เช่นกัน เมื่อหุ้นขึ้น คุณก็เข้าไปซื้อ เมื่อหุ้นตก อย่าทำตัวเป็นคนเก่งด้วยการซื้อสวนทางตลาด เพราะมันเสี่ยง

การเล่นหุ้นตามกระแสมันก็มีหลายรูปแบบ แต่ที่เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมก็พอจะแบ่งออกได้เป็น2 รูปแบบด้วยกันคือ

1. เล่นตาม SET INDEX คือเราต้องพิจารณา pattern ของ SET ด้วยว่าเป็น stateไหน และโปรดอย่าลืมว่าควรเข้าตลาดในช่วง Bullish State เมื่อพิจารณา SET แล้ว ก็มาพิจารณาเลือกเล่นหุ้นที่เราสนใจ ซึ่งวิธีการเลือกหุ้นนั้น ขอให้พิจารณาตามเคล็ดลับข้อที่ 1. เมื่อเลือกหุ้นได้แล้ว ก็มาพิจารณาว่า trend ของราคาหุ้นตัวที่เราเลือกนั้น มันเหมือนกับ trend ของ SET หรือไม่ ถ้าเหมือนกันก็เข้าเล่นเลย อย่างนี้เรียกว่าเล่นตามกระแส SET INDEX

2. ไม่เล่นตาม SET INDEX เป็นการเล่นหุ้นโดยดู pattern ของหุ้นที่เราเลือกโดยไม่ได้อิงหรือพิจารณาให้น้ำหนักกับ SET INDEX มากนัก เป็นการวิเคราะห์เฉพาะหุ้นนั้นๆว่ามันอยู่ใน state ไหน การเข้าซื้อหรือขาย ก็ให้ดูจังหวะให้ดี แต่กรณีเล่นแบบนี้ ไม่แรงเท่ากับวิธีตามกระแส SET INDEX

6.) อย่าซื้อเฉลี่ย ถ้าราคาหุ้นตก

หลายคนมีวิธีการเฉลี่ยราคาหุ้นตอนช่วงราคาหุ้นตก โดยการซื้อหุ้นตัวเดียวกันหลายรอบในช่วงขาลง เพื่อเฉลี่ยต้นทุนที่ซื้อแพงไป ให้มีราคาเฉลี่ยถูกลง อันนี้แล้วแต่ style ของนักเล่นหุ้น แต่ที่แน่ๆคือ ราคาหุ้นมันกำลังตก แสดงว่า หุ้นตัวนั้นมันต้องผิดปกติ หรือมีข่าวไม่ดี หรืออะไรอีกมากมายที่เราไม่รู้ ความไม่รู้นี่สิคือความเสี่ยง แล้วมีคำถามต่อว่า คุณจะหยุดเฉลี่ยซื้อเมื่อไหร่

ข้อแนะนำ

แทนที่จะซื้อเฉลี่ยราคาหุ้นช่วงขาลง คุณน่าจะตัดขาดทุนดีกว่า เพราะการตัดขาดทุนจะทำให้เรา

– สามารถ Control ต้นทุนได้

– ไม่ต้องหมกมุ่นกับราคาหุ้นมากนัก

– ไม่เสียอารมณ์ตลอดหลายช่วงเวลา

– นอนหลับได้อย่างสนิท

ที่มา http://www.richerstock.net/rs/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=37

MOVING AVERAGE (ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่)

MOVING AVERAGE (ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่)

Clipped from: http://www.richerstock.net/rs/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=37

MOVING AVERAGE ( ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ )

เป็นการนำเอาราคาของหุ้นย้อนหลังตามจำนวนวันที่เราต้องการพิจารณา นำมาหาค่าเฉลี่ย เพื่อดูทิศทางของราคาหุ้น ณ วันที่เราพิจารณา เช่น MA10 หมายถึง ราคาหุ้นย้อนหลังจากวันที่เรากำลังพิจารณาไป 10 วัน เป็นการนำเอาราคาแต่ละวันมาเฉลี่ยกัน เหตุที่เรียกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ก็เพราะในวันถัดไปค่าเฉลี่ยก็จะเปลี่ยนไปเช่นกัน

จำนวนวันที่นำมาหาค่าเฉลี่ยเป็นที่นิยมกันได้แก่ MA5, MA12, MA26, MA75, MA200 จำนวนวันจะบ่งบอกว่าเป็นการพิจารณาราคาในระยะสั้น กลาง หรือ ระยะยาว ความเห็นส่วนตัวผม และผมก็ใช้อยู่เป็นประจำมีด้วยกัน 3 ตัวคือ

MA5, MA12, MA26 เป็นเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น
MA 75 เป็นเส้นค่าเฉลี่ยระยะกลาง
MA200 เป็นเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว

วิธีการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นิยมทำกัน 2 แบบคือ
1.) Simple Moving Average เป็นการให้น้ำหนักการเฉลี่ยเท่าๆกัน
2.) Exponential Moving Average เป็นการให้น้ำหนักราคาค่อนมาทางเวลาใกล้ปัจจุบันมากกว่าราคาในช่วงอดีต ส่วนสูตรการหาค่าเฉลี่ยแบบ simple หรือ exponential ผมไม่ขอนำมาแสดงในหนังสือเล่มนี้ เพราะการหาค่า SMA หรือ EMA สามารถใช้โปรแกรมเช่น MetaStock คำนวนและแสดงกราฟได้ แต่สิ่งที่ผมอยากให้รับรู้ก็คือ การนำมันไปใช้ทำนายหุ้นมากกว่าครับ

ประโยชน์ของ Moving Average
1.) เมื่อนำค่า moving average แต่ละวัน นำมาเขียนกราฟ ก็จะได้เส้น MA Line ซึ่งสามารถบอก trend ของราคาได้
2.) สามารถบอกสภาวะตลาดได้ว่าเป็น Bullish State หรือ Bearish State โดยสังเกตจากการเรียงตัวของเส้น MAฺ

Bullish State ( สภาวะกระทิง )

จากตัวอย่างกราฟราคาหุ้น IFCT สภาวะที่แถบเงาสีน้ำเงิน เป็นสภาวะตลาดกระทิง ( Bullish State ) โดยสังเกตจากเส้นค่าเฉลี่ยที่มีการเรียงตัวของเส้น MA5(cyan) MA12 (magenta) MA26 (blue) โดยที่เส้น MA ระยะสั้นจะอยู่บนสุด และเส้น MA ระยะยาวจะอยู่ล่างสุด ซึ่งในที่นี้การเรียงตัวจากบนมาล่างของเส้น MA คือ MA5,MA12,MA26

Bearish State

จากตัวอย่างกราฟราคาหุ้น IFCT สภาวะที่เป็นแถบสีแดงเป็นสภาวะตลาดหมี (Bearish State) โดยสังเกตจากเส้นค่าเฉลี่ยที่มีการเรียงตัวของเส้น MA26 (blue), MA12 (magenta) , MA5 (cyan) โดยที่เส้น MAระยะยาวจะอยู่บนสุด และเส้น MA ระยะสั้นจะอยู่ล่างสุด ซึ่งในที่นี้การเรียงตัวจากบนมาล่างของเส้น MA คือ MA26, MA12, MA5

3.) ใช้เป็นสัญญาณในการซื้อหรือขาย

สัญญาณซื้อ ( Buy Signal)

เมื่อราคาหุ้นทะลุและอยู่เหนือเส้น MA เป็นสัญญาณซื้อ จากตัวอย่างกราฟราคาหุ้น IFCT โดยเราใช้ MA26 วันเป็นตัวพิจารณา เมื่อราคาหุ้นทะลุผ่านเส้น MA26 และอยู่เหนือเส้น MA26 ได้ ลักษณะนี้เกิดสัญญาณซื้อโดยที่เราสามารถเข้าซื้อหุ้น ณ ระดับราคาจุดตัดได้แลย

สัญญาณขาย ( Sell Signal )

เมื่อราคาหุ้นทะลุและอยู่ใต้เส้น MA จะเป็นสัญญาณขาย จากตัวอย่างกราฟราคาหุ้น IFCT โดยเราใช้ MA26 วันเป็นตัวพิจารณา เมื่อราคาหุ้นทะลุผ่านเส้น MA26 และอยู่ใต้เส้น MA26 ลงมา ลักษณะนี้เกิดสัญญาณขายโดยที่เราควรจะขายหุ้นออก ณ ระดับราคาจุดตัดได้แลย

4.)ใช้เป็นสัญญาณเตือนว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นที่รุนแรงทั้งในแง่ราคาขึ้นแรง หรือราคาลงแรง

จากรูปเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ MA5,MA12,MA26 มาบรรจบกัน ซึ่งมันกำลังสื่อว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรง (กว่าปกติ ) ตัวอย่างในรูปเส้น MA ทั้งสามเส้นมาบรรจบกัน หลังจากนั้นราคามันก็ดิ่งลงอย่างมาก

ผมว่านะ แค่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เพียงตัวเดียวมันก็ทำให้เราสามารถทำนายหุ้นได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น แต่ความเป็นจริงแล้ว indicators เพียงตัวเดียวไม่สามารถทำนายได้แม่นยำ 100 เปอร์เซ็นต์หรอกครับ ยังต้องอาศัยตัวอื่นๆมาช่วยทำนายเพื่อสนับสนุนซึ่งกันและกันได้

ความรู้พื้นฐานของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ จะทำให้เราเข้าใจตัว indicators ตัวอื่นๆได้เป็นอย่างดี

Stock Cycle

Stock Cycle

Clipped from: http://www.richerstock.net/rs/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=37

STOCK CYCLE

ถ้าหากคุณรู้ว่าราคาหุ้นมีพฤติกรรมอย่างไร ขึ้นเมื่อไหร่ ลงเมื่อไหร่ แน่นอนทีเดียวว่า คุณย่อมมีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว แต่ปัญหาที่พบเจอนั้นคือเราไม่รู้ pattern ราคาหุ้นอย่างถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากราคาหุ้นมันขึ้นลงตามจิตวิทยา มันไม่มีสูตรสำเร็จเหมือนสูตรคณิตศาสตร์ทั่วไป

แต่ก็ใช่ว่าเราจะไม่สามารถคาดคะเน pattern ราคาหุ้นได้เสียทีเดียว มีนักวิเคราะห์ทั้งไทยและเทศได้เฝ้าดู pattern ของราคาหุ้นหลายร้อยตัวหรืออาจจะหลายพันตัวแล้วตั้งข้อสรุปว่า pattern ราคาหุ้นมันเป็นวัฏจักร ( CYCLE )

Pattern ราคาหุ้นมันมีพฤติกรรมเป็น cycle ที่ประกอบด้วย 4 state ซึ่งผมขออนุญาตเปรียบเทียบ CYCLE ที่ว่านี้ให้ดูง่ายขึ้น โดยเปรียบเทียบกับการเดินทางด้วยเครื่องบิน ดังนี้

1.เตรียมพร้อม
เป็นช่วงที่เครื่องมีความพร้อมสูง น้ำมันเต็มถัง ขุมพลังมหาศาล พร้อมที่จะทะยานขึ้น ถ้าเปรียบเทียบกับราคาหุ้นแล้วความหมายมันเป็นดังนี้
– ช่วงนี้จะมีการซื้อการขายเกิดขึ้นเป็นระยะๆหลายๆรอบ
– มีการเก็บสะสมหุ้น เพราะผู้ที่ซื้อเก็บสะสมคิดว่าราคาหุ้นช่วงนี้ถูก
– รอข่าวดี ข่าวปล่อย หรือข่าวลือ เป็นตัวเร่งกระทุ้งหุ้นให้ทะลุแนวต้าน
2.ทะยานขึ้น
เป็นช่วงที่เครื่องทะยานขึ้นจากลานวิ่ง ล้อเครื่องบินเริ่มห่างออกจากลานวิ่ง ช่วงนี้นักบินต้องอัดกำลังเครื่องเต็มที่เพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก เปรียบกับการซื้อขายหุ้นช่วงนี้เป็นดังนี้
– Demand หรือความต้องการในการซื้อหุ้นมีมาก ราคาเท่าไหร่ก็ซื้อ
– Demand จะมากกว่า Supply ทำให้ราคาหุ้นทะลุแนวต้าน ( resistance ) ขึ้นไป
– ช่วงขณะที่ราคาหุ้นทะลุแนวต้าน จะเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนอื่นๆ ทำให้เกิด demand มากยิ่งขึ้น
3.รักษาระดับ
เมื่อเครื่องทะยานขึ้นบนท้องฟ้าได้ระดับเพดานบินที่ปลอดภัยแล้ว เครื่องก็จะทำการบินในแนวราบด้วยกำลังเครื่องยนต์ที่ผ่อนคลาย ลงมาแล้วบินไปยังจุดหมายปลายทางที่ตั้งไว้ เปรียบกับการเล่นหุ้นได้ดังนี้- เมื่อราคาหุ้นได้ขึ้นมาถึงจุดที่นักลงทุนต่างก็เริ่มมีความคิดตรงกันว่า ราคาเริ่มสูงหรือแพงแล้วก็จะทยอยขายกันออกมา
– มีนักลงทุนบางคนหรือบางกลุ่มที่ยังมีความเชื่อว่า ราคาหุ้นน่าจะวิ่งขึ้นไปได้อีก ก็จะทยอยรับซื้อหุ้นไว้
– ช่วงนี้จะมีการซื้อการขายเกิดขึ้นเป็นรอบ
– บางครั้งช่วงนี้อาจจะใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่ช่วงนี้อาจจะกินเวลาแค่วันเดียว
– ช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องให้ความระวังและความสนใจเป็นอย่างยิ่งเพราะถ้าราคาหุ้นมันไม่สามารถทะยานหรือไต่ระดับขึ้นไปได้อีกนักเก็งกำไรที่เข้าตลาดช่วงนี้ก็เริ่มปล่อยหุ้นออกมาเพื่อไปเล่นตัวอื่น
4.ลดระดับ
เมื่อใกล้ถึงจุดหมายนักบินก็เริ่มปรับลดระดับการบินให้ต่ำลง เพื่อลงจอดยังลานบินตามที่หมาย เปรียบการเล่นหุ้นได้ดังนี้- เมื่อราคาหุ้นมาถึงจุดสูงและมีการ trade กันหลายรอบทำให้นักลงทุนที่เข้ามาซื้อหุ้นช่วงนี้ เริ่มเกิดความกลัวตกใจ ระส่ำระส่าย หงุดหงิด และเมื่อราคาหุ้นขยับขึ้นมาบ้างก็เริ่มขายออกมา
– เมื่อราคาหุ้นผ่านแนวรับลงมา จะเกิด Supply มากกว่า Demand ทำให้เกิดการเทขายกันออกมามาก
– อัตราการลงของราคาหุ้นจะลดลงเร็วกว่าอัตราการขึ้นของราคาหุ้น ในช่วงที่ราคาหุ้นทะยานขึ้น

ตัวอย่างวงจรราคาหุ้นจริง โดยเลือกหุ้น BIGC ที่ปิดตลาด ณ วันล่าสุดที่ 19 กรกฎาคม 2545

ช่วงเตรียมพร้อม : ช่วงนี้มีการซื้อขายกันที่หมายเลข 1,2,3,4 โดยเส้นตรงด้านบนที่เชื่อมระหว่างจุด 1,3,5 เรียกว่า แนวต้าน ( resistance ) ส่วนเส้นล่างคือเส้นแนวรับ ( support ) ซึ่งการซื้อขายในช่วงนี้จะอยู่ระหว่างแนวรับ และแนวต้าน
ช่วงทะยาน : เมื่อมีข่าวดี หรือข่าวลือ หรือข่าวปล่อย เข้ามาในตลาด จะทำให้เกิด demand อย่างมากทำให้ราคาหุ้นทะลุแนวต้านที่จุด 5 ขึ้นไป และทะยานขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อราคาหุ้นมาที่จุด 6 ตอนนี้แหล่ะสำคัญเหมือนกัน เพราะนักลงทุน หรือนักเก็งกำไร เริ่มมองเห็นความแรงของหุ้นตัวนี้ และกลัวว่าตนเองจะเข้าซื้อช้าไป หรือศัพท์ที่เซียนหุ้นทั้งหลายเรียกว่ ตกขบวนรถไฟ ก็เลยพากันเฮโลกันเข้ามากันอย่างสนุกสนาน
ช่วงรักษาระดับ : เมื่อราคาหุ้นทะยานมาถึงจุด 8 นักลงทุนก็เริ่มขายหุ้น และอีกเช่นกัน ก็มีนักลงทุนบางคนหรือบางกลุ่มที่ยังมีความเชื่อว่าราคาหุ้นน่าจะไปได้อีก ก็เลยตั้งแถวรอซื้อเมื่อราคาหุ้นตกลงมา ลักษณะนี้จะเกิดการซื้อขายหลายรอบทีเดียว คือระหว่างจุด 8,9,10,11,12,13,14 เกิดแนวต้านและแนวรับ เมื่อราคามันไม่สามารถทะลุแนวต้านไปได้อย่างที่คาดคิด นักลงทุนที่เงินร้อน หรือนักลงทุนที่เล่นสั้นรอไม่ไหว ก็เริ่มขายหุ้นทิ้ง นักลงทุนกลุ่มนี้แหล่ะเป็นกลุ่มที่จะเจาะลูกโปร่งที่มันอัดลมแน่นมานาน ให้ระเบิดออกมา หมายถึงทำให้นักลงทุนอื่นๆเกิดอาการตระหนกตกใจ รีบขายหุ้นออกตามๆกัน ทำให้ Supply มากกว่า Demand ราคาหุ้นก็เลยทะลุผ่านแนวรับที่จุด 15 ลงมา
ช่วงลดระดับ : เมื่อเกิดอาการตกใจและนักลงทุนเริ่มเทขายหุ้นออกมา บางคนก็กำไร บางคนก็ขาดทุน แต่ก็ต้องขายเพราะมันเกิดอาการ panic และขอให้จำให้ขึ้นใจว่า อาการตกใจมันร้ายแรงกว่าอาการดีใจ การเทขายหุ้นของนักลงทุนจะเทขายหุ้นโดยใช้เวลาอันรวดเร็วกว่าการทะยอยซื้อหุ้น

ดังนั้นนักลงทุนทุกท่านคงมองภาพรวมของราคาหุ้นว่ามันมีพฤติกรรมอย่างไรได้พอสมควร เมื่อคุณรู้ pattern ของราคาหุ้นแล้ว ก็จะทำให้คุณ

– เข้าหรือออกจากตลาดได้อย่างเหมาะสม

– ทำการซื้อหรือขายหุ้นได้อย่างมั่นใจ

– ไม่เกิดอาการหวาดผวา

– ไม่เชื่อลมปากเพื่อนฝูง ( ที่ขาดความรู้เรื่อง pattern )

คาถาสำหรับนักเล่นหุ้น

– เลือกหุ้นพื้นฐานดี

– เข้าตลาดให้ถูกจังหวะ

– ตัดขาดทุน

– ปล่อยให้ราคาหุ้นวิ่ง

– เล่นตามกระแส

– อย่าซื้อเฉลี่ย ถ้าราคาหุ้นตก

ทีมา http://www.richerstock.net/rs/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=37

By TrendyStock เขียนใน Study

TREND

TREND

Clipped from: http://www.richerstock.net/rs/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=37

TREND

กราฟที่แสดงความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นซึ่งมีทิศทางที่เราสามารถจะคาดคะเนได้กรณีที่ราคาหุ้นไร้ทิศทางไม่มีรูปแบบจะไม่เรียกว่า Trend

Trend ตามปกติจะมี 3 ลักษณะได้แก่

Uptrend

Downtrend

Sideway

Uptrend

ลักษณะ uptrend คือกราฟที่มีทิศทางขึ้นโดยราคาต่ำของกราฟของวันล่าสุดจะสูงกว่าราคาต่ำของวันที่ผ่านมา และถ้าลากเส้นเชื่อมระหว่างจุดราคาต่ำก็จะได้เส้นตรงที่มีทิศทางขึ้น ทั้งนี้การลากเส้น uptrend line นั้น จุด lowerควรมีตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไป

Downtrend

downtrend คือกราฟที่มีทิศทางลงโดยราคาสูงของกราฟของวันล่าสุดจะต่ำกว่าราคาสูงของวันที่ผ่านมา และถ้าลากเส้นเชื่อมระหว่างจุดราคาสูง ก็จะได้เส้นตรงที่มีทิศทางลง ทั้งนี้การลากเส้น downtrend line นั้น จุด higher ควรมีตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไป


Sideway

เป็นช่วงพักไม่ว่าจะเป็นการพักในช่วงขาขึ้นหรือการพักในช่วงขาลงก็ได้ เปรียบเสมือนเวลาคนเดินหรือวิ่งขึ้นทางชันเมื่อวิ่งไปได้สักระยะหนึ่งก็เริ่มหมดแรงและเปลี่ยนจากการวิ่งมาเป็นการเดินเพื่อเป็นการพักให้หายเหนื่อยก่อนที่จะวิ่งต่อไป

ในช่วง sideway บางครั้งเราก็เรียกว่า trading range ได้เหมือนกัน เพราะช่วงนี้จะมีการซื้อขายมี demand และ supply ตอบสนองกัน ดังนั้นลักษณะของ sideway จึงมีทิศทางออกไปทางแนวราบ

ที่มา http://www.richerstock.net/rs/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=37

By TrendyStock เขียนใน Study

How to Interpret Volume on a Stock Chart

How to Interpret Volume on a Stock Chart

The volume on a stock chart is probably the most misunderstood of all technical indicators used by swing traders. There is only a couple of times when it is actually even useful. In fact, you could trade any stock without even looking at it!

First a definition…

Stock chart volume is the number of shares traded during a given time period.

Usually plotted as a histogram under a chart, volume represents the interest level in a stock. If a stock is trading on low volume, then there is not much interest in the stock. But, on the other hand, if a stock is trading on high volume, then there is a lot of interest in the stock.

Volume simply tells us the emotional excitement (or lack thereof) in a stock.

Liquidity

Stock chart volume also shows us the amount of liquidity in a stock. Liquidity just simply refers to how easily it is to get in and out of a stock.

If a stock is trading on low volume, then there aren’t many traders involved in the stock and it would be more difficult to find a trader to buy from or sell to. In this case, we would say that it is illiquid.

If a stock is trading on high volume, then there are many traders involved in the stock and it would be easier to find a trader to buy from or sell to. In this case, we would say that it is liquid.

Let’s look at a couple of common volume patterns on a stock chart:

volume on a stock chart

A surge in volume can often signify the end of a trend.

Here, on the left side of the chart, this stock begins to fall. Volume increases dramatically as more and more traders get nervous about the rapid decline of this stock. Eventually everyone piles in and the selling pressure ends. A reversal takes place.

Then, in the middle of the chart, volume begins to taper off (circled) as traders begin to lose interest in this stock. There are no more buyers to push the stock higher. A reversal takes place.

Then, on the right side of the chart, volume begins to increase again (second arrow) and another reversal takes place.

This chart is a good example of how the trend of a stock can reverse on high volume or low volume.

Mistakenly, some traders think that stocks that are “up on high volume” means that there were more buyers than sellers, or stocks that are “down on high volume” means that there are more sellers than buyers. Wrong! Regardless if it is a high volume day or a low volume day there is still a buyer for every seller.

You can’t buy something unless someone is selling it to you and you can’t sell something unless someone is buying it from you!

Volume and Price

So if all volume represents is interest in a stock, when is it useful? The only time volume is useful is when you combine it with price. For example:

Expansion of range and high volume – If a stock is drifting along sideways in a narrow range and all of sudden it breaks to the upside with an increase in range and volume, then we can conclude that there is increased interest in the stock and it will probably continue higher.

Narrow range and high volume – If a stock has very high volume for today but the range is narrow then this is called churning. In this case, significant accumulation or distribution is taking place.

Ever heard the saying, “volume precedes price”?

Many times you will see volume pick up right before a significant move in a stock. You can see that interest is building. On a stock chart, look for volume to be higher than the previous day. This is a sign that there may be a significant move to come.

Take a look at this example…

chart of volume precedes price

This stock rallied for three days in a row on relatively low volume. Then, on the fourth day, volume increased dramatically. This increase in volume began the move to the downside.

Interpreting volume on a stock chart can be confusing! Just remember that the price action is the most important factor on a chart.

All else is secondary.

Credit http://www.swing-trade-stocks.com/stock-chart-volume.html

PTT ซื้อหุ้นเหมืองถ่านหิน Sakari ในอินโดฯ ทั้งหมด

วันเผยแพร่ วันจันทร์, 27 สิงหาคม 2555 09:19
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ปตท. (PTT) เปิดเผยว่า บริษัท PTT Mining Limited (PTTML) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (PTTI) (บริษัทย่อยที่ปตท.ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100) โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ปตท.ได้ประกาศทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญที่ออกแล้วและ/หรือที่จะออกเพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อหุ้น (Options) ทั้งหมดของบริษัท Sakari Resources Limited (“SAR” เดิมชื่อ Straits Asia Resources Limited) โดยไม่รวมหุ้นที่ถืออยู่หรือตกลงที่จะเข้าซื้อแล้ว

ปัจจุบัน บริษัท PTT Asia Pacific Mining Pty Ltd (PTTAPM) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ PTTML ถือหุ้นสามัญของ SAR จำนวน 514,679,220 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.3 ของหุ้นทั้งหมด โดย PTTAPM ได้ให้คำรับรองที่เพิกถอนไม่ได้ ว่าจะไม่เข้าขายหุ้น SAR ที่ถือครองอยู่ตามคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของ PTTML

การเสนอซื้อดังกล่าวเป็นการเสนอซื้อด้วยเงินสด โดยมีราคาเสนอซื้อหุ้นสามัญของ SAR ที่ 1.90 เหรียญสิงคโปร์ต่อหุ้น คำเสนอซื้อนี้มีเงื่อนไขว่า PTTML ต้องได้รับการตอบรับขายหุ้นในจำนวนที่มีผลให้ PTTML และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (Concert Parties) มีหุ้นที่ถือครองอยู่และจะได้มาเพิ่มนั้น คิดรวมเป็นสัดส่วนเกินร้อยละ 50 ของคะแนนเสียงทั้งหมดของ SAR ตามสิทธิของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จดทะเบียนและชำระแล้ว ณ วันที่ระยะเวลาเสนอซื้อสิ้นสุด PTTML คาดว่าจะดำเนินการเสนอซื้อหุ้นเสร็จสิ้นภายในเดือนตุลาคม 2555

การทำคำเสนอซื้อดังกล่าวเป็นไปเพื่อเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน SAR ให้แก่ ปตท. เพื่อรองรับการขยายกิจการในธุรกิจถ่านหิน  ทั้ง นี้ หาก SAR มีจำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อยต่ำกว่าร้อยละ 10 ของหุ้นทั้งหมดของ SAR ตามเกณฑ์ที่จะดำรงสถานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตามกฎตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสิงคโปร์แล้ว นั้น
PTTML ขอสงวนสิทธิ์ที่จะประเมินสถานการณ์โดยพิจารณาจากสภาวะตลาดที่เหมาะสมในการพิจารณาดำเนินการเพิกถอนหุ้น SAR ออกจากตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสิงคโปร์ต่อไป

ที่มา Money Channel

http://www.moneychannel.co.th/index.php/2012-06-30-12-32-32/2481-ptt-sakari

ทำไมหุ้นถ่านหินร่วง

บทความ Value Way  ฉบับวันที่ 3 กันยายน  2555
โดย วิบูลย์ พึงประเสริฐ
ทำไมหุ้นถ่านหินร่วง

ตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปีที่ดัชนี 1,025 จุดเพิ่มขึ้นมาจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคมที่ 1,214 จุด เพิ่มขึ้นถึง 18.4 เปอร์เซนต์ ดูเหมือนว่านักลงทุนทุกคนจะได้กำไรกันถ้วนหน้าในปีนี้ ถ้าดูเผินๆหุ้นในตลาดทุกบริษัทน่าจะมีราคาเพิ่มขึ้นกันหมดในตลาดขาขึ้นเช่นนี้ แต่ในความเป็นจริงมีหุ้นขนาดใหญ่บางบริษัทกลับราคาลดลงสวนทางดัชนีตลาดหุ้นโดยรวมอย่างเช่นหุ้นที่เป็นที่นิยมของกองทุนทั้งในและต่างประเทศอย่างหุ้นบ้านปู (BANPU) ที่ราคาต้นปีอยู่ที่หุ้นละ 546 บาท ในสิ้นเดือนสิงหาคมราคาอยู่ที่ 446 บาท ลดลงจากต้นปีถึง -18.3 เปอร์เซนต์ เกิดอะไรขึ้นกับหุ้นบ้านปูที่เมื่อต้นปีนักวิเคราะห์ยังเชียร์ซื้อหุ้นกันอยู่เลย
ในความเป็นจริงหุ้นบ้านปูไม่ได้เป็นหุ้นเดียวที่ราคาลดลงแต่ยังรวมถึงหุ้นที่เกี่ยวข้องกับถ่านหินแทบทั้งหมดในตลาดหุ้นทั่วโลก ถ้าดูราคาหุ้นบ้านปูย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี 2011 ราคาหุ้นอยู่ที่หุ้นละ 792 บาท ค่าพีอี (ราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น) เท่ากับ 10.04 เท่า ค่าพีบี (ราคาต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น) เท่ากับ 3.47 เท่า ขณะที่ต้นปี 2012 ราคาหุ้นอยู่ที่หุ้นละ 546 บาท ค่าพีอี (ราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น) เท่ากับ 6.92 เท่า ค่าพีบี (ราคาต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น) เท่ากับ 2.11 เท่า สิ้นเดือนสิงหาคมราคาหุ้นอยู่ที่หุ้นละ 446 บาท ค่าพีอี (ราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น) เท่ากับ 9.10 เท่า ค่าพีบี (ราคาต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น) เท่ากับ 1.54 เท่า จะเห็นว่าในช่วงกว่าสองปีที่ผ่านมา ราคาหุ้นบ้านปูลดลงมาตลอดทางจากต้นปี 2011 ถึงปัจจุบันลดลงถึง -43.7% หรือเกือบครึ่งหนึ่ง
ถ้าสมมุติฐานที่ว่าราคาหุ้นบ้านปูเคลื่อนไหวไปในทางเดียวกับราคาถ่านหิน จะพบว่าราคาถ่านหินที่ตลาดกลางออสเตรเลียในช่วงสองปีที่ผ่านมามีราคาลดลงเช่นเดียวกัน จากต้นปี 2011 ราคาถ่านหินเฉลี่ยอยู่ที่141 เหรียญต่อตัน ในเดือนมกราคมปี 2012 ราคาถ่านหินลดลงเหลือ 124 เหรียญต่อตัน เดือนกรกฏาคม ราคาถ่านหินเหลือเพียง 90 เหรียญต่อตัน แสดงว่าในช่วงสองปีทีผ่านมาราคาถ่านหินลดลงไปถึง -36 เปอร์เซนต์ แสดงให้เห็นว่าว่าราคาหุ้นบ้านปูมีความสัมพันธ์กับราคาถ่านหินอย่างชัดเจน
ทำไมราคาถ่านหินมีราคาลดลงในช่วงสองปีนี้ทั้งๆที่ราคาน้ำมันไม่ได้ลดลงมากในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งๆที่ในสมัยก่อนราคาถ่านหินจะเคลื่อนไหวไปกับราคาน้ำมันเพราะถือว่าเป็นสินค้าทดแทนได้ ในช่วงที่ราคาน้ำมันสูง ผู้ใช้อย่างโรงไฟฟ้าหรือโรงงานอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้าหรือไอน้ำจากน้ำมันเตามาเป็นถ่านหินเพราะทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง เช่นเดียวกันในช่วงเวลาที่ราคาถ่านหินสูง ผู้ใช้จะเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเตาในการผลิตแทน ทำให้ราคาน้ำมันและราคาถ่านหินปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันตลอดมา
แต่ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันและราคาถ่านหินเริ่มมีราคาในทิศทางที่เปลี่ยนไป เนื่องจากประเทศผู้ผลิตถ่านหินอย่างสหรัฐอเมริกาซึ่งใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้ามากกว่า 50 เปอร์เซนต์ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด เริ่มเปลี่ยนวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินมาเป็นก๊าซธรรมชาติมากขึ้นจากค้นพบเทคโนโลยี่การขุดเจาะเชลก๊าซ (Shale Gas) ที่ถูกลงในอเมริกาในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ราคาก๊าซธรรมชาติลดลงจากราคากว่า 5 เหรียญต่อล้านบีทียูมาอยู่ที่ 3 เหรียญต่อล้านบีทียูและคาดการณ์ว่าในอนาคตราคาก๊าซธรรมชาติในอเมริกาจะลดลงเหลือเพียงราคาถูกกว่า 2 เหรียญต่อล้านบีทียูซึ่งถือว่าเป็นราคาก๊าซธรรมชาติที่ถูกที่สุดในโลก
เมื่อราคาก๊าซธรรมชาติลดลงทำให้ผู้ผลิตไฟฟ้าเปลี่ยนวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินมาเป็นก๊าซธรรมชาติมากขึ้น การเปลี่ยนวัตถุดิบของโรงไฟฟ้านี้ใช้เงินลงทุนไม่มากนักแต่คุ้มค่าในระยะยาว ทำให้ถ่านหินที่ผลิตได้ในช่วงสองปีนี้มีปริมาณมากเกินกว่าที่ตลาดในประเทศอเมริกาจะรองรับได้ ผู้ผลิตถ่านหินในอเมริกาต้องขายถ่านส่วนเกินออกมาในตลาดโลกในราคาที่ถูกลงหรืออาจจะต้องเรียกว่าขายดัมพ์ตลาดเลยทีเดียว ทำให้ราคาถ่านหินทั่วโลกลดลงมาโดยตลอด
แนวโน้มของการเปลี่ยนวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินมาเป็นก๊าซธรรมชาตินั้นคงไม่หยุดง่ายๆเพราะก๊าซธรรมชาตินอกเหนือจากได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนการผลิตแล้วยังปล่อยไอเสียสู่บรรยากาศน้อยกว่า นักอนุรักษ์ธรรมชาติมักให้การรับรองการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติมากกว่าการผลิตจากถ่านหินหรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นอกเหนือจากนั้นการขอตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินมักได้รับการต่อต้านจากชุมชนโดยรอบเพราะเป็นห่วงในเรื่องของสิ่งแวดล้อม
สถานการณ์ของหุ้นถ่านหินในช่วงต่อจากนี้คงยังไม่ดีนักโดยข่าวร้ายที่สุดของอุตสาหกรรมนี้คือการที่บริษัทเชลล์กรุ๊ปของเนเธอร์แลนด์จับมือกับบริษัทน้ำมันของจีนเริ่มการขุดสำรวจเชลก๊าซในเมืองจีนโดยคาดการณ์ว่าจีนจะเป็นแหล่งเชลก๊าซใหญ่อันดับสองของโลกและจีนยังเป็นประเทศที่ใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุดในโลก ผู้บริหารบริษัทถ่านหินคงต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดต่อไปในสถานการณ์ที่ถูกกดดันรอบข้างจากแหล่งพลังงานที่ถูกกว่าและสะอาดกว่าอย่างก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดานอย่างเชลก๊าซในอนาคต

ที่มา http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=53204

จิตวิทยาการลงทุน The Psychology of Investing

จิตวิทยาการลงทุน The Psychology of Investing

1. Disposition Effect
– ผู้คนจะหลีกเลี่ยงการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียใจ และหาการกระทำที่ทำให้เกิดความภูมิใจ (Regret and Pride)
เมื่อคุณมีหุ้น 2 ตัว ตัวหนึ่งขาดทุนอยู่ และอีกตัวกำไรอยู่ คุณจะขายตัวไหนและถือตัวไหนต่อไป
คำตอบ นักลงทุนส่วนใหญ่จะขายตัวที่ได้กำไรทิ้งเพื่อความภูมิใจ และ ถือตัวขาดทุนไว้เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียใจ

note: ความผิดพลาดของผมคือ จะหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดโดยการไม่ Stop loss เพราะหวังว่าสถานการณ์ในอนาคตจะดีขึ้น แต่มันกลับแย่ลงเกือบทุกครั้ง ดังนั้นเราควรมีแนวคิดและ ฝึกการ stoploss ยังไง ประมาณเราจะเจ็บจิ๊ดๆ ไม่ปล่อยให้เนื้อร้ายมันงอกเงยยังไง แล้วผมจะเอาบทความเกี่ยวกับ stoploss มาลงอีกที

2. Overconfidence
– ความมั่นใจเกินไป ทำให้นักลงทุน Trade เกินขนาดของ port และประเมินความเสี่ยงที่ต่ำเกินไป ทำให้มองข้ามว่าเราเองไม่ได้เป็นคนกำหนดทิศทางตลาด

note: สิ่งที่ผมเคยเป็นคือเมื่อ Trade ได้ติดต่อกันพักใหญ่ๆแล้ว จะมีความมั่นใจมากและระมัดระวังน้อยลง + กับเงินกำไร(จากเจ้า จิตวิยาในข้อต่อไป)ที่ได้มาทำให้ประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

3. House – Money Effect
– เงินของเจ้ามือ นักลงทุนจะเล่นหุ้นเสี่ยงมากขึ้นหลังจากได้กำไรมาก่อนหน้านี้ เพราะเหมือนกับเอาเงินของคนอื่นมาเล่น จิตวิทยาข้อนี้ คนเอาเงินเจ้ามือมาต่อยอดเรื่อยๆ และเล่นด้วยความเสี่ยงสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดภาวะฟองสบู่แตกได้ในที่สุด

4. Snake – Bite Effect
– โดนงูกัด เมื่อนักลงทุนขายขาดทุน ส่วนนึงจะเข็ดขยาดและเลิกเล่น และอีกส่วนนึงจะต้องเอาการเอาคืนจนทำให้เกิดจิตวิทยาข้อต่อไป

5. Trying to break Even Effect
– การจะเอาคืน หลังจากนักลงทุนขาดทุนมาก จะต้องการเอาคืนโดยลงหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เพื่อผลตอบแทนที่มากขึ้น แต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม

6. endowment effect
– การตั้งราคาที่คิดว่าจะขายสูงกว่าราคาตลาด ในขณะที่คุณเป็นเจ้าของอยู่ ประมาณว่าคุณจะประเมินทรัพย์สินที่คุณมีสูงกว่าราคาตลาด นี้ก็เป็นอีกข้อที่คนจะตั้งราคาสูงขึ้นเรื่อยจนเกิดภาวะฟองสบู่

ตัวอย่าง คุณมีบ้านอยู่ 1 หลัง คุณต้องการขายให้ได้มากกว่าราคาตลาด 12 % และเมื่อราคาบ้านลดลงไปเรื่อยๆ คุณก็ยังคิดจะขายบ้านที่ราคาเดิม แต่ตอนนี้ราคาที่คุณจะขายบ้านมากกว่าราคาตลาดถึง 30 %

7. Status quo bias
คำจำกัดความสั้นๆคือ avoiding action and avoiding change
– เมื่อนักลงทุนถือหุ้นกลุ่มใดไว้ จะไม่ต้องการขายหุ้นทิ้ง ไปซื้อกลุ่มอื่น

ตรงกับบทความที่ผมเคยสรุปไปแล้ว เรื่อง เล็งให้แม่นเก็งให้รวย The Zurich Axioms by Max Gunther ข้อ6
“สรุป หลักการนี้สอนให้คุณมีความคล่องตัวในการโยกย้ายสถานะและอย่าให้มีรากงอก ซึ่งจะเป็นตัวบ่อนทำลายการเก็งกำไรของคุณ อย่างเช่น ความจงรักภักดี หรือการรอคอยเพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมาย หลักการข้อนี้สอนให้คุณพร้อมที่จะกระโดดจากหลักทรัพย์ที่อยู่กับที่ หรือคว้าโอกาสดีไว้โดยเร็ว แต่มิได้หมายความว่าให้คุณกระโดดไปมาจากหลักทรัพย์นึง ไปอีกหลักทรัพย์นึง ก่อนการกระโดดคุณควรจะชั่งใจให้ดีรอบคอบก่อน และถ้ามีเหตุผลที่ไม่สำคัญก็ไม่ควรเปลี่ยนมือ แต่ถ้าสถานะการลงทุนเดิมไม่ดี คุณก็ควรจะขจัดรากทั้งหมดทิ้งไป และกระโดดหนีโดยเร็ว จงอย่าให้มีรากงอกเกินไป”

8. Cognitive Dissonance
– นักลงทุนเผชิญ ความคิดที่เป็นบวกและลบในเวลาเดียวกัน นักลงทุนจะหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด และเลือกที่จะพิจารณาข้อมูลที่เป็นบวก และละเลยข้อมูลที่เป็นลบ ความเชื่อของตนเองจะถูกปรับให้สอดคล้องกับสิ่งที่ตัดสินใจทำลงไปแล้ว

เมื่อนักลงทุนตัดสินใจซื้อหุ้นแล้ว ความมั่นใจว่าหุ้นจะขึ้นจะมากขึ้นทันที เหมือนกับเมื่อเราซื้อหวย ก่อนซื้อเราคงไม่คิดว่ามันจะถูกมาก จนเมื่อเราซื้อเลขไปแล้วสักเลข ความมั่นใจว่าหวยจะออกตัวที่เราซื้อจะมีมากขึ้นในทันที 🙂

note: เรื่องของการรับข้อมูลเชิงบวก และลบ ผมได้เผชิญมาแล้วเมื่อผมตัดสินใจเปิด position แล้วผมจะรับข้อมูล + ที่สนับสนุนให้ผมได้กำไรในอนาคต และลดความเชื่อข้อมูลเชิงลบ – มันทำให้ผมเกิดอติเชิงจิตวิทยาครอบงำ ทำให้ผมไม่สามารถ stoploss ได้ทันท่วงที เพราะกลัวว่าข้อมูลเชิงบวกที่ผมรับมาจะเป็นความจริง

9. Sunk cost Effect
ต้นทุนจม เมื่อนักลงทุนมีพอร์ตที่ขาดทุนมากๆ จะไม่ยอมขาย จะตรงกับจิตวิทยาเรื่องการหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดในเรื่องของการขายขาดทุน คือ ถ้านักลงทุนเริ่มขาดทุนความเจ็บปวดจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อขาดทุนมากขึ้น และนานขึ้นความเจ็บปวดจะลดลง เปรียบกับกราฟพาราโบล่า ความชันของความเจ็บปวดจะเป็นอัตราเร่งเพิ่มขึ้นในช่วงแรก และลดลงในเวลาต่อมา นั่นเป็นสาเหตุให้ นักลงทุนจะถือส่วนที่ขาดทุนไปอย่างยาวนาน

10. Representativeness and familiarity
– ความเป็นตัวแทนและความคุ้นเคย นักลงทุนจะคิดว่าผลการดำเนินการ และผลตอบแทนที่ผ่านมาในอดีต จะต่อเนื่องไปในอนาคต

Note: บริษัทที่ทำกำไรต่อเนื่อง ไม่ได้มีความหมายว่าจะทำให้หุ้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่บริษัทที่มีอัตราการทำกำไรที่มากขึ้น จะทำให้คนคาดหวังมากขึ้น และหุ้นจะขึ้นมากกว่า ดังนั้นไม่แปลกเลยที่เมื่อผ่านไปนานเมื่อบริษัททำกำไรได้คงที่ในเวลาต่อมา หุ้นก็ลงในเวลาต่อมาเช่นกัน

11. Social interaction
– การรับรู้ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา เมื่อคนที่อยู่รอบกายเรามีความคิดที่แตกต่างกัน และในปัจจุบันยิ่งมี internet ทำให้การบริโภคข้อมูลเป็นไปได้ง่ายขึ้น ทำให้เราได้รับข้อมูลที่เป็น + และ – และง่ายมากที่ทำให้เราได้รับอคติเชิงจิตวิทยาในต่างๆรูปแบบ ทั้งในเรื่องของความกลัวหมู่ กลัวขาดทุน panic sell กลัวไม่ได้กำไร panic buy หรือ การรับข้อมูล ข่าวสารทั้งจริงและเท็จโดยไม่รู้ที่มา

ที่มา http://set-financial-academy.blogspot.com/2009/12/psychology-of-investing.html