เทคนิคค้นหาและวิเคราะห์หุ้น Turnaround

“สองคนยลตามช่อง
คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม
คนหนึ่งตาแหลมคม
เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย”
การวิเคราะห์หุ้นก็เหมือนกันต่างคนก็ต่างมุมมอง หุ้นตัวเดียวกันบางคนเห็นโคลนตม แต่บางคนเห็นดวงดาว
ในตลาดจะมีหุ้นอยู่กลุ่มหนึ่งที่ลักษณะของเขาคือประสบปัญหาขาดทุนเรื้อรังเป็นเวลานาน นักวิเคราะห์ไม่สนใจ มาร์เก็ตติ้งไม่รู้จัก ขนาด VI ยังไม่ค่อยจะคุยกันในร้อยคนร้อยหุ้นเลย แต่เมื่อไรที่ธุรกิจเขากลับมาได้ราคาหุ้นจะวิ่งทีเป็นหลายๆเท่าตัว ตัวอย่างหุ้นฮิตก็เช่น น้ำผลไม้ MALEE จาก10 บาทวิ่งไป 80 บาท, เครื่องสำอางค์ KAMART จาก 0.5 ไป 5 บาท ใครที่อดทนสู้ช่วงที่มีปัญหาไปกับเขาได้ก็รวยไป หุ้นกลุ่มนี้มีชื่อว่า”หุ้นฟื้นตัว”หรือ Turnaround Stocks เดี๋ยวมาดูกันว่าจะค้นหาและวิเคราะห์หุ้นพวกนี้ได้อย่างไร
จะหาหุ้น Turnaround Stocks ได้จากไหน?
ส่วนใหญ่จะใช้วิธีกรองหุ้นเอาครับ เช่นหุ้นที่ขาดทุนมาหลายๆปี, หุ้น PE ติดลบ, หุ้นที่ขาดทุนน้อยลงติดกันซัก 2-3 ไตรมาศ เว็ป siamchart.com เขาจะทำตารางไว้ให้ครับก็จะได้รายชื่อหุ้นมาประมาณ 30-50 ตัว จากรายชื่อนี้แหละเราก็มาพลิกหินมาดูทีละก้อน
ได้รายชื่อหุ้นแล้วต้องดูอะไรบ้าง?
ในการวิเคราะห์ให้ยึดกฎของไตรลักษณ์ มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ หุ้นเน่าก็ไม่ได้เน่าตลอดไป มีเหตุมาให้ขาดทุนบริษัทก็ขาดทุน ทนรับกรรมไปซักปีสองปีแก้ไขได้ก็กลับมาเหมือนเดิม ดังนั้นในการวิเคราะห์หุ้นเน่าๆพวกนี้ เราก็ต้องบอกปัญหาของบริษัทให้ได้ว่าเกิดจากอะไร ผลกระทบอย่างไร บริษัทมีแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างไร และแนวโน้มดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร มาดูกันว่าปัญหาหลักๆมีอะไรกันบ้าง
1. ปัญหาชั่วคราว
ปีที่แล้วมีเพียบเลยที่ตัดขาดทุนความเสียหายจากน้ำท่วมเช่น HANA โรงงานน้ำท่วมขาดทุนนิดหน่อยหุ้นกราวรูดจาก 25 มา 16 บาท, SVI โรงงานน้ำท่วมหุ้นร่วงกราวจาก 4 บาทมา 3 บาท, TASCO ตัดขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ที่ใช้บริหารความเสี่ยงหุ้นกราวรูดจาก 49 มา 38 บาท พวกนี้ปัญหาจะมาครั้งเดียวแล้วก็จบ ซื้อไว้เดี๋ยวก็เด้งกลับไม่ต้องกลัวอะไร
2. ปัญหารเรื่องหนี้ (Financial Leverage)
บริษัทถ้ากู้เงินมาแล้วทำสำเร็จตามแผนก็ได้เงินเหมือนจับเสือมือเปล่า แต่่ถ้าทำไม่ได้ก็มีปัญหาเพราะไปเอาเงินเขามาก็ต้องมีต้นทุนทางการเงินที่ต้องจ่ายถ้าจ่ายไม่ทัน bank ก็คิดดอกเบี้ยผิดนัดเต็มที่ 15% ในปี 2540 สมัยวิกฤติเศรษฐกิจใครมีหนี้ต่างประเทศ จำนวนหนี้เงิน US เท่าเดิมแต่คิดเป็นเงินบาทหนี้เพิ่มขึ้น 2 เท่าในเดือนเดียว ก็ปรับโครงสร้างหนี้กันไป 3 ปี 5 ปี แล้วแต่บริษัท ถ้าบริษัทมีแค่ปัญหาเรื่องหนี้อย่างเดียว การตลาดยังดีอยู่ ธุรกิจแข่งขันได้ กำไรขั้นต้น กำไรจากการดำเนินงานยังเป็นบวก ปรับโครงสร้างหนี้ได้ก็วิ่งฉลิว
3. ปัญหาด้านโครงสร้าง (structural)
หลายบริษัทที่ชอบลงทุนใหญ่ๆ หนักๆ  เช่น SAFARI ลงเงินไปสร้างภูเก็ตแฟนตาเซีย , โรงแรม ERAWAN แผน 5 ปีขยายโรงแรมเป็น 20 โรง, TRUE จนตอนนี้จะหมดสัปทานอยู่แล้วยังไม่เคยมีกำไรซักปี, ส่วนใหญ่พวกนี้กำไรชั้นต้นยังเป็นบวกแต่โดนค่าเสื่อมราคากินหมดกำไรจากการดำเนินงานบวกนิดหน่อยหรือติดลบ ถ้ากู้มาเยอะเกินก็มีปัญหาเรื่องหนี้พ่วงมาด้วย แต่พวกนี้ที่อยู่กันได้ก็เพราะกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกอยู่ (ค่าเสื่อมราคาไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสด) ถ้ามีปัญหาหนี้ก็ปรับโครงสร้างหนี้กันไป บริษัทย่อยเป็นตัวถ่วงอยู่ก็ขายไปซะ บางบริษัทก็แปลงรายได้ในอนาคตเป็นกำไรเช่นออกกองทุนอสังหาฯ
4. ปัญหาด้านการตลาด
ปัญหานี้หนักสุด จะสร้างปัญหาอื่นอีกเพียบเพราะในการทำธุรกิจรายได้มีแค่ทางเดียวคือ ยอดขาย แต่มีรายจ่ายรออยู่เป็นหางว่าว เช่น SUPER, CCP, QCON ผลิตอิฐมวลเบา หลายปีก่อนไม่รู้นึกคึกอย่างไรเร่งสร้างโรงงานกันใหญ่พอตลาดยังไม่โตพอก็ตัดราคากัน(ขอให้กูได้ขายของดีกว่าอยู่เปล่าๆ) สรุปเจ้งทั้งแถบ กำไรขั้นต้นติดลบ เกิดปัญหาทั้งด้านโครงสร้างไม่พอหักค่าเสื่อม หนี้สินก็ต้องจ่าย แต่ช่วงหลังดีขึ้น SCG เข้ามา take over Qcon จาก LH เข้ามาบูมตลาด แล้วก็ช่วงนี้โครงการคอนโดเพียบโรงงานผลิตแทบไม่ทัน
AKR เป็นเบอร์ 1 ตลาดหม้อแปลงไฟฟ้าอยู่ดีๆไม่ชอบ ดันไปลงทุนสร้างโรงงานผลิตแผงโซล่าเซลเจ้งไม่เป็นท่าลงทุนไปเป็น 1000 ล้านมียอดขายต่อปีไม่ถึง 100 ล้าน เป็นตัวถ่วงบริษัทแม่อีกต้องขึ้นโรงขึ้นศาลปรับโครงสร้างหนี้อีกในฐานะผู้ค้ำประกัน ตอนนี้ก็รอหาผู้ร่วมทุนอย่างเดียว
KAMART สมัยก่อนผลิตทีวี DISTAR ขายดีเหมือนโยนทิ้งน้ำ พอตลาด LCD มาเท่านั้นแหละเจ้งไม่เป็นท่า ไปเป็นตัวแทนจำหน่ายของหัวเหว่ยให้ TOT ตอนนี้ TOT ก็ยังไม่จ่ายเงินซักบาท ขายรถ NGV ก็เจ้ง มารุ่งตอนรุ่นลูกเปลี่ยนมาขายเครื่องสำอางค์น่าเอง
รู้ปัญหาแล้วทำอย่างไรต่อ
เมื่อวิเคคาะห์ปัญหาของหุ้นตัวนั้นได้แล้ว สิ่งที่ต้องทำคือ ดูว่าบริษัทมีแผนแก้ปัญหาเหล่านั้นอย่างไร  วิกฤตินั้นไม่ใช่ไตรมาสสองไตรมาสก็แก้ได้ อย่างน้อยก็ต้องเห็นทิศทางของปัญหาที่น้อยลง  บวกกับว่าราคาที่เราซื้อจะมีผลตอบแทนเท่าไหร่หากมันฟื้นตัวได้ ถ้าเห็น upside เยอะ downside ต่ำก็เล่นเลย
เทคนิคแก้กรรมจากการขาดทุนสะสม
เวลาบริษัทขาดทุนก็จะไปลดรายการ”กำไรสะสม”ลง ทีนี้ถ้าติดลบมากๆก็กลายเป็นขาดทุนสะสม ซึ่งตามกฐหมายบริษัทนั้นไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ถึงธุรกิจฟื้นตัวก็ไม่สามารถจ่ายปันผลได้ราคาก็ไม่ไปไหน  ต้องผ่านพิธีแก้กรรมก่อนทำเสร็จจ่ายปันผลได้ราคาวิ่งฉิว ซึ่งมีวิธีแก้กรรมดังนี้
  • ลดทุนล้างขาดทุนสะสม
    • ลดพาร์แต่จำนวนหุ้นเท่าเดิม
    • ลดหุ้น ราคาพาร์เท่าเดิม
  • นำส่วนล้ำมูลค่าหุ้นมาล้างขาดทุนสะสม
  • เงินสำรองตามกฎหมาย 10% ที่เก็บไว้ก็ใช้ล้างได้

ถ้าลดทุนล้างขาดทุนสะสมรอ 2 เดือนไม่มีเจ้าหนี้คัดค้านก็ไปจดทะเบียนลดทุนที่กระทรวงพาณิชย์

ที่มา http://value.exteen.com/20120516/turnaround

ผมไม่เคยเจอนักเก็งกำไรหรือนักเทคนิคที่ประสบความสำเร็จ

ผมไม่เคยเจอนักเก็งกำไรหรือนักเทคนิคที่ประสบความสำเร็จ!

เห็นคนส่วนใหญ่ชอบพูดกันว่าไม่เห็นมีใครรวยจากการดูกราฟหรือใช้เทคนิค บทความนี้ขอเขียนเป็นข้อมูลให้กับคนที่ชอบพูดว่าเขา “ไม่เคยเจอกับนักเก็งกำไรหรือนักเทคนิคที่ประสบความสำเร็จ (ในระยะยาว)” ใครเจอที่ไหนก็ช่วยเอาไปแปะให้เขาอ่านหน่อยแล้วกันครับ ^_^

ถ้าการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคได้ผลจริง แล้วทำไมยังไม่เห็นมีนักเทคนิคคนใดประสบความสำเร็จสักคน?

ก่อนจะเข้าเรื่องขอให้ทำความเข้าใจกันสักนิดนึงก่อน นั่นคือผมคิดว่าคำว่า “ความสำเร็จ” อาจไม่จำเป็นต้องเป็นเพียงเบอร์ 1 ของโลกนี้ก็ได้ และผมเห็นว่าเบอร์ 1 ไม่เคยมีอยู่จริง มันเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาเสมอ (ยกตัวอย่างเช่น นักเก็งกำไรนั้นเสียงดังมากๆในยุคของลิเวอร์มอร์) นอกจากนี้แล้วความสำเร็จยังอยู่ที่ Benchmark ในการวัดผลของแต่ละคนด้วย คุณไม่จำเป็นต้องมองแต่คนที่มีเม็ดเงินสูงสุดเพียงอย่างเดียว ผมคิดว่าผลของการลงทุนมันมีหลายมิติ และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราถึงมีอัตราส่วนทางการเงินในหลายๆรูปแบบเพื่อวัดผลในการลงทุนของเรานั่นเองครับ

เอาล่ะครับ! หลังจากที่ผมลองนึกถึงนักเก็งกำไรชื่อดังต่างๆ รวมถึงลองค้นจากใน Google สักเพิ่มเติมอีกสักหน่อย รายชื่อของนักเก็งกำไรหลายๆคนก็เริ่มที่จะปรากฏขึ้นมาใน List ของผมจนเยอะพอสมควรแล้ว ไอ้ครั้นจะให้ผมเขียนถึงทุกคนก็คงไม่ไหว ในเบื้องต้นแล้วผมจึงขอเอาสัก 10 ชื่อเบิ้มๆตามมาตรฐานความร่ำรวยที่ได้รับการเปิดเผยก่อนแล้วกัน โดยในที่นี้ขอนำมาเฉพาะ Trader ที่มีหลักฐานว่าเขาใช้หลักการของ Technical Analysis หรืออาศัยสมมติฐานของค่าทางการเงินที่ได้จากการศึกษาข้อมูลสถิติในอดีตมาใช้พิจารณาในการเก็งกำไรกัน (เช่น ราคาหุ้น, ความผันผวนของหุ้น หรือผลตอบแทนของตลาด) ขาดตกอีกหลายๆชื่อไปต้องขอโทษด้วยครับ

นักเก็งกำไรในตำนานยุคเก่า

homma munehisa thumb ผมไม่เคยเจอนักเก็งกำไรหรือนักเทคนิคที่ประสบความสำเร็จ!

1. Munehisa Homma บิดาแห่งกราฟแท่งเทียน

Homma ผู้นี้เป็นตำนานของเหล่าผู้ใช้กราฟแท่งเทียน มีชื่อเสียงโด่งดังมากๆจากความเก่งกาจและร่ำรวยของเขาในช่วงศตวรรษที่ 17 โดยว่ากันว่าหากนำทรัพย์สมบัติที่ได้จากการเก็งกำไรของเขามาตีค่าออกเป็นมูลค่าของเงินในปัจจุบันแล้ว เขาจะมีทรัพย์สินอยู่ราวหนึ่่งแสนล้านดอลลาร์ (100 Billion) เลยทีเดียว สำหรับความยิ่งใหญ่ของเขานั้นว่ากันว่าชาวบ้านชาวเมืองแถวนั้นถึงกับเอาความสำเร็จของแกไปแต่งเป็นเพลงพื้นบ้านเลยทีเดียวครับ

Livermore  thumb ผมไม่เคยเจอนักเก็งกำไรหรือนักเทคนิคที่ประสบความสำเร็จ!2. Jesse Livermore หมีใหญ่แห่ง WallSt.

ตำนานแห่ง Wallstreet ที่เคยเขย่าตลาดหุ้นจนได้รับฉายาว่า Boy Plunger โดยในช่วงที่ชีวิตของเขาประสบความสำเร็จนั้นเขามีทรัพย์สินอยู่ถึงราว 100 ล้านเหรียญ (หรือราว 2.3 Billion ในปัจจุบัน) แต่ด้วยปัญหาทางด้านสุขภาพจิตและชีวิตส่วนตัวที่รุมเร้า เขาจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายโดยเหลือทรัพย์สินติดตัวเพียง 5 ล้านเหรียญเท่านั้น อย่างไรก็ตามแนวคิดต่างๆของเขาได้กลายเป็นรากฐานสำหรับนักเก็งกำไรทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน

สุดยอดนักเก็งกำไรในยุคปัจจุบัน

james simons thumb ผมไม่เคยเจอนักเก็งกำไรหรือนักเทคนิคที่ประสบความสำเร็จ!3. James “Jim” Simon ผู้ก่อตั้งกองทุน Hedge Funds – Renaissance Technologies

คุณลุงคนนี้ถือได้ว่าเป็นสุดยอด Trader และนักคณิตศาสตร์ของโลกคนหนึ่ง เพราะเขาได้เป็นผู้ร่วมคิดค้นทฤษฏี Chern-Simon Theory ไว้ในวงการคณิตศาสตร์เอาไว้ด้วย (ใครสงสัยว่ามันคืออะไรลองค้นใน Wikipedia ดูนะครับ) ฉายาของแกก็คือ “King of Quant” นั่นเอง

  • ทรัพย์สิน : 10.7 Billion
  • รูปแบบการลงทุน : High Frequency Trading (HFT)
  • สถิติที่น่าสนใจ  : ปัจจุบัน Medallion Fund มี CAGR ที่สูงกว่า 35% ต่อปี (หลังหักค่าบริหาร) มาตั้งแต่ปี 1990

Steve Cohen  thumb ผมไม่เคยเจอนักเก็งกำไรหรือนักเทคนิคที่ประสบความสำเร็จ!4. Steve A. Cohen ผู้ก่อตั้งกองทุน Hedge Funds – SAC Capital

เขาคือเจ้าพ่อตลาดหุ้นและจ้าวแห่งศาสตร์ “Tape Reading” หรือการอ่านโวลุ่มการซื้อขายที่เกิดขึ้นในระยะสั้นถึงขนาดได้ฉายาว่าเป็น “Jesse Livermore” ในยุคปัจจุบันเลยทีเดียว น่าเสียดายว่าเขาเป็นคนที่เก็บตัวเป็นอย่างมากเราจึงไม่มีข้อมูลส่วนตัวหรือวิธีการเก็งกำไรของเขาสักเท่าไหร่นัก

  • ทรัพย์สิน : 8.3 Billion
  • สไตล์การลงทุน : Tape Reading
  • สถิติที่น่าสนใจ : CAGR เฉลี่ยตั้งแต่ปี 1992 – 2008 อยู่ที่ราว 40% ต่อปี

Bruce Kovner  thumb ผมไม่เคยเจอนักเก็งกำไรหรือนักเทคนิคที่ประสบความสำเร็จ!5. Bruce Kovner ผู้ก่อตั้งกองทุน Hedge Funds – Caxton Associate

เขาคือผู้เยี่ยมยุทธ์ในวงการ Global Macro Funds สายเลือด Trend Following ผู้เป็นลูกศิษย์ของ Micheal Marcus (ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ Ed Seykota อีกทีหนึ่ง) ใครที่สนใจถึงแนวคิดหรือประวัติของเขาลองหาอ่านบทสัมภาษณ์ที่เคยถูกตีพิมพ์ไว้ในหนังสือ Market Wizard โดย Jack Schwager ได้เลยครับ

  • ทรัพย์สิน : 4.5 Billion
  • สไตล์การลงทุน : Global Macro – Trend Following
  • สถิติที่น่าสนใจ : ในช่วงยุค 80 กองทุนของเขามี CAGR ย้อนหลัง 10 ปีอยู่ที่ 87%/ปี

Paul Tudor Jones  thumb1 ผมไม่เคยเจอนักเก็งกำไรหรือนักเทคนิคที่ประสบความสำเร็จ!6. Paul Tudor Jones ผู้ก่อตั้งกองทุน Hedge Funds – Tudor Investment Corperation

จากบทสัมภาษณ์ของเขาในหนังสือ Market Wizard เขาเชี่ยวชาญเทคนิคการเก็งกำไรแบบ Swing Trading เป็นอย่างมาก (เล่นสั้น – เล่นรอบ) เขาเป็นพวกชอบเล่นกับจุดกลับตัวของตลาด และเป็นถือเป็นนักเก็งกำไรที่มีความ Aggressive และมีสัญชาติญาณที่สูงเป็นอย่างมาก (แหกปากตะโกนตลอดเวลาว่างั้นเลย หุหุ)

  • ทรัพย์สิน : 3.4 Billion
  • สไตล์การลงทุน : Contrarian – Swing Trading
  • สถิติที่น่าสนใจ : กองทุนเคยมีผลตอบเฉลี่ยต่อปีสูงกว่า 99% ถึง 5 ปีติดกัน

david shaw  thumb2 ผมไม่เคยเจอนักเก็งกำไรหรือนักเทคนิคที่ประสบความสำเร็จ!7. David Shaw ผู้ก่อตั้งกองทุน Hedge Funds – D.E. Shaw&Co.

Computer Scientist ผู้นี้คือผู้ที่มองเห็นโอกาสสร้างความมั่งคั่งจากตลาดด้วยการบุกเบิกการเก็งกำไรในสไตล์ High Speed Quantiative Trading คนต้นๆของวงการตั้งแต่ช่วงปี 2001 เลยทีเดียว และเขายังเป็นบุคคลอีกคนหนึ่งที่ได้รับฉายาว่า “King Quant” โดยนิตยสาร Fortune Magazine โดยในปัจจุบันนี้ Shaw เริ่มหันเหตนเองไปทำ Research ในสาย Computaional Biochemistry ด้วยความชอบของตนเองอย่างเต็มตัวเรียบร้อยแล้ว

  • ทรัพย์สิน : 3 Billion
  • สไตล์การลงทุน : High Speed Quantiative Trading
  • สถิติที่น่าสนใจ : เขาเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประธานาธิบดีคลินตันและโอบามา

Stanley druckenmiller  thumb1 ผมไม่เคยเจอนักเก็งกำไรหรือนักเทคนิคที่ประสบความสำเร็จ!8. Stanley Drunkenmiller – ผู้ก่อตั้งกองทุน Dunquesne Capital

ลูกหม้อคนสำคัญของ Gorge Soros ในยุค 90 ก่อนที่จะออกมาก่อตั้งกองทุนของเขาเอง วีรกรรมสำคัญของเขาก็คือการร่วมกันกับ Soros ถล่มธนาคารแห่งชาติของประเทศอังกฤษเสียจนเละด้วยการขายชอร์ททุบเงินปอนด์ในปี 1992 และโกยกำไรไปกว่า 1 Billion ไปในคราวเดียว เขามักใช้การอ่านกราฟมาช่วยในการหาจังหวะเวลาในการเดิมพัน และเชื่อในหลักของการรักษาเงินต้นและการทำโฮมรัน

  • ทรัพย์สิน : 2.5 Billion
  • สไตล์การลงทุน : Top-Down Trading
  • สถิติที่น่าสนใจ : กองทุนของเขามี CAGR ภายใน 12 ปีอยู่ที่ 37% ก่อนที่จะปิดตัวลง

David Harding  thumb3 ผมไม่เคยเจอนักเก็งกำไรหรือนักเทคนิคที่ประสบความสำเร็จ!9. David Harding ผู้ก่อตั้งกองทุน – Winton Capital Management

เขาคือผู้ที่ประกาศว่าตนเองคือ “Systematic Trend Follower” หรือนักเก็งกำไรตามแนวโน้มตัวจริง โดยเขาจะทำการลงทุนอย่างเป็นระบบตามที่งานวิจัยของเขาได้บ่งชี้เอาไว้เท่านั้น และเขายังเคยให้สัมภาษณ์ต่อหน้าพิธีกรรายการทีวีของ CNBC ไว้ด้วยซ้ำว่า “ผมไม่รู้หรอกว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับตลาด ผมไม่รู้ และผมไม่รู้จริงๆ เพราะผมไม่ได้มีญาณที่จะไปหยั่งรู้ได้!” … ไม่กลัวโดนถอนเงินออกจากกองทุนเลยน้าา อิอิ

  • ทรัพย์สิน : 1.3 Billion
  • สไตล์การลงทุน : Systematic Trend Following
  • สถิติที่น่าสนใจ : ตั้งแต่ก่อตั้งในปี 1997 เขามีผลตอบแทนติดลบเพียงปีเดียว

John Henry liverpool thumb3 ผมไม่เคยเจอนักเก็งกำไรหรือนักเทคนิคที่ประสบความสำเร็จ!10. John W. Henry ผู้ก่อตั้งกองทุน J.W. Henry&Company และเจ้าของทีม Liverpool ในปัจจุบัน

John เริ่มต้นสะสมความมั่งคั่งมาจากการเป็นนักเก็งกำไรในตลาด Futures ก่อนที่จะเข้าเป็นเจ้าของทีม Boston Redsox และ Liverpool ที่แฟนบอลคนไทยหลายๆคนเป็นสาวกกัน เขาเป็นนักเล่นหุ้นแบบ Systematic Trend Following อีกคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากโดยใช้เวลาไม่นานนัก

  • ทรัพย์สิน : 1.1 Billion
  • สไตล์การลงทุน : Systematic Trend Following
  • สถิติที่น่าสนใจ : ในอดีตเขานำผลกำไรที่ได้จากการเก็งกำไรในรูปแบบของ Trend Following กว่า 700 ล้านเหรียญไปต่อยอดซื้อทีม Boston Redsox

* ผมพยายามยกมาให้มันครบๆเหล่าของแนวทางการใช้เทคนิคแต่ละแนวนะครับ ส่วนที่ว่า Soros ทำไมไม่ติดโผบ้าง เพราะเท่าที่เคยศึกษาแกไม่ได้ดูกราฟเท่าไหร่ครับ

** ขอขอบคุณที่มาของมูลค่าทรัพย์สินจากรายงานของนิตยสาร Forbes ในเดือนมีนาคม 2012

องค์ประกอบร่วมของนักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จ

ขอแถมอีกนิดเนื่องจากว่าผมได้เคยศึกษาข้อมูลของนักเก็งกำไรระดับ Billionaire เหล่านี้มาบ้างจึงพอที่จะเห็นปัจจัยบางอย่างที่คล้ายๆกันดังนี้ครับ

  • พวกเขาล้วนแล้วแต่เป็น Self-Made Billionare
  • มักใช้ระบบการลงทุนในการซื้อขายโดยอัตโนมัติหรือใช้คอมพิวเตอร์ในการให้สัญญาณซื้อขาย
  • มีกฏในการเก็งกำไรที่ชัดเจนมากๆและปฏิบัติตามอยู่เสมอ
  • มีแนวทางหรือระบบการลงทุนเป็นของตนเอง (ค้นคว้าด้วยตนเอง)
  • ส่วนใหญ่ทำการ Backtest ทดสอบระบบการลงทุนของพวกเขาย้อนหลังเป็นอย่างดีเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะนำมาลองใช้จริงในตลาด
  • ตรวจสอบและประเมิณสุขภาพของระบบหรือผลการลงทุนของพวกเขาอยู่เสมอ
  • พวกเขามักเริ่มต้นด้วยการขาดทุนหนักๆในปีแรกๆก่อนที่จะกลับมาทำกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำได้
  • มักใช้ “ตัวคูณ” ในการสร้างความร่ำรวยด้วยการตั้งกองทุนของพวกเขาขึ้นมา
  • แต่ละคนมีแนวทางหรือระบบการลงทุนที่เหมาะสมกับจริตของตนเอง
  • หลักการรักษาเงินต้นคือกฏข้อแรก พวกเขาจะนึกถึงความเสี่ยง “ก่อน” เสมอ
  • มีการควบคุมอารมณ์หรือจิตวิทยาการลงทุนได้อย่างดีเยี่ยม
  • สิ่งสำคัญไม่ใช่กราฟ แต่เป็นความเข้าใจถึงความเสี่ยง, ผลตอบแทนและความน่าจะเป็น
  • … 9ล9

ถึงแม้ว่าสำหรับนักเล่นหุ้นไทยแล้วถึงมันดูจะยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างห่างไกลในหลายๆมุม แต่ก็หวังว่าจะช่วยแก้ข้อกังขา, เป็นกำลังใจ และทำให้มองเห็นความเป็นไปได้ของความสำเร็จจากการใช้หลักการวิเคราะห์หุ้นในเชิงเทคนิคคัลกันบ้างแล้ว ใครบอกว่าไม่มีใครร่ำรวยจากการเก็งกำไรก็ช่วยฝากเอา Link แปะหน่อยละกันครับ ^_^

ที่มา แมงเม่าคลับ.คอม หนังสือหุ้นน่าอ่าน, วิธีการเล่นหุ้น, การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค, จิตวิทยาการลงทุน และการบริหารเงินทุน Money Management

P/E Ratio แนวคิดและการใช้งาน


P/E Ratio แนวคิดและการใช้งา

ค่า P/E Ratio เป็นตัวเลขยอดฮิตในการประเมินมูลค่าหุ้น ด้วยความง่ายในการเข้าใจของมันนั่นเอง มือใหม่มักจะถูกสอนกันว่า “หุ้นตัวไหน P/E Ratio สูงกว่า 10 แปลว่าแพง” ก็เลยหาหุ้น PE ต่ำ 10 กันใหญ่แต่ว่าจริงๆแล้ว PE Ratio มันมีความลึกกว่าที่คิดครับ

ค่า P/E Ratio เป็น Ratio ที่อยู่ในกลุ่มของการประเมิณมูลค่าโดยใช้ “ตัวคุณราคา (price multiples valuation)” อยู่บนหลักการที่ว่า การหามูลค่าหรือราคาหุ้นก็คือ การประเมินว่าราคาหุ้นที่ผู้ลงทุนจ่ายออกไปจะนำไปซื้อตัวแปรทางการเงินที่แทนมูลค่าใดได้บ้าง สำหรับ PE Ratio ก็คือ กำไร(earnning ) นั่นเอง

วิธีใช้งานก็นำอัตราส่วนไปเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น สำหรับมูลค่าที่ใช้เป็นมาตรฐานในการเปรีบเทียบ (benchmark) สามารถเลือกได้หลายประเภทเช่น

  • หุ้นที่อยู่ในอตสาหกรรมเดียวกันี่มีความเสี่ยงและขนาดกิจการในระดับเดียวกัน (matched firm)
  • ค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม

ซึ่งวิธีเปรียบเทียบที่กล่าวมาจากทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ “กฏของราคาเดียว (law of one price)” ที่กล่าวว่าสินทรัพย์ 2 อย่างที่เหมือนกันควรมีราคาที่เท่ากัน

ตัวอย่าง

  • หุ้น x มี P/E 10 เท่า แปลว่าคุณจ่ายเงินไป 10 บาทเพื่อแลกกับการได้กำไร 1 บาท
  • หุ้น y มี P/E 6 เท่า แปลว่าคุณจ่ายเงินไป 6 บาทเพื่อแลกกับการได้กำไร 1 บาท
  • ถ้าทั้งสองบริษัทมีลักษณะ เช่นความเสี่ยง การเจริฐเติบโต ฯลฯ คล้ายๆกัน ก็จะสรุปได้ว่าหุ้น y มีราคาโดยเปรีบเทียบต่ำกว่าหุ้น X

บางคนก็มอง P/E Ratio เป็นการหาจุดคุ้มทุน P = ราคาที่จ่ายไป,E=กำไรที่ได้กลับมา สมมติหุ้น y มี P/E 6 เท่า ถ้า บริษัททำงานแบบเดิม ยอดขายเท่าเดิม และต้นทุนเท่าเดิม กำไรเท่าเดิม คุณจะต้องถือหุ้นนี้ไป 6 ปีจะเท่าทุน

หุ้น P/E ต่ำดีจริงหรือ?

P/E ต่ำแบบนี้สิดี:

หุ้นที่ P/E ต่ำเพราะกำไรสุทธิต่อหุ้นโตมากในขณะที่ราคาหุ้นไม่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมุมมอง ของนักลงทุน เพราะเป็นหุ้นที่ไม่มีเสน่ห์ ทำธุรกิจไม่น่าสนใจ แถมอยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่น่าสนใจ ซึ่งหุ้นพวกนี้ ปีเตอร์ ลินซ์ จะชอบมากเพราะไม่มีคนสนใจ ทำให้มีราคาถูก และมีโอกาสทำกำไรถ้านักลงทุนอื่นๆเห็นว่ามันดี

P/E ต่ำแบบนี้ไม่ค่อยดี:

  • หุ้นไม่เติบโต
  • หุ้นที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมตะวันตกดิน
  • หุ้นที่ยอดขายเริ่มตกลงอย่างถาวร กำไรลดดลง
  • มีความเสี่ยงที่ทำให้นักลงทุนต้องการผลตอบแทนมากขึ้น
  • เป็นหุ้นวัฏจักรที่คาดการณ์กำไรลำบาก
  • อุตสาหกรรมที่ต้องลงทุนสูงตลอดเวลาทำให้ใช้เงินเยอะทำให้ผลตอบแทนต่ำ

บริษัทที่ปัญหาเยอะ นักลงทุนก็เสี่ยงสูงขึ้น ก็ทำให้มีต้นทุนเงินทุนสำหรับหุ้นตัวนั้นสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ย ถ้าจะซื้อหุ้นตัวนั้นได้ต้องซื้อที่ P/E ต่ำมากๆ (ผลตอบแทนสูงกว่าปกติ)

ตัวอย่างการคำนวณ Forward P/E

การประเมินมูลค่าต้องมองไปข้างหน้าครับว่า ในอีก 1-3 ปีข้างหน้าบริษัทจะทำกำไรได้เท่าไร ค่า forward P/E จะเป็นตัวบอกว่าสิ่งที่จ่ายไป(ราคา) คุ้มกับสิ่งที่เราได้มา (กำไร) หรือไม่ วิธีที่ง่ายและคนส่วนใหญ่ชอบใช้ก็คือวิธี PE ดังนี้

  1. กำหนด PE ของหุ้นที่จะหามูลค่า (วิธีกำหนด เรื่องยาวและผมก็พยายามจับทางมันอยู่) เช่น หุ้นค้าปลีก กำไรสม่ำเสมอ สามารถคำนวณกำไรได้ไม่ยากนัก จากยอดขายต่อสาขาและดูจากการทำกำไรในอดีต แบบคร่าวๆนะครับ สมมติว่าเป็นหุ้นที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี แข็งแกร่ง (ดูงบการเงินหลายๆปีย้อนหลัง) ให้ PE = 15
  2. ประมาณกำไรที่บริษัทคาดการณ์ว่าจะทำได้ใน 1 ปี 3 ปี (อาจจะยากหน่อยแต่ก็พยายามมองยาวๆ โดยอันนี้ต้องเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง จะช่วยได้) สมมติว่าอีก 1 ปี จะทำกำไรสุทธิได้ 100 ล้านบาท และบริษัทนี้มีจำนวนหุ้นสามัญที่ชำระแล้วเป็นจำนวน 100 ล้านหุ้น เราก็จะได้กำไรต่อหุ้น (EPS) เป็น 100/100 = 1 บาท
  3. ดูราคาหุ้นที่เป็นอยู่ปัจจุบันว่าราคาเท่าไหร่ สมมติราคาเป็น 10 บาท เราก็จะได้ค่า forward PE ในอีก 1 ปีข้างหน้าเป็น 10/1 = 10 ซึ่งเมื่อเทียบกับค่า PE ที่เรากำหนดให้หุ้นนี้คือ PE = 15 แสดงว่าในอีก 1 ปี หุ้นตัวนี้มีโอกาสที่ราคาจะเพิ่มเป็น 15 บาท ก็เป็นไปได้ ทำให้ถ้าเราเข้าซื้อวันนี้เราก็จะมีโอกาสทำกำไร 50% ใน 1 ปี เป็นต้น แต่ในทางกลับกันถ้าหุ้นบนกระดานมีราคาเป็น 15 บาท ก็แสดงว่าราคาได้ขึ้นมารองรับผลประกอบการในอนาคต 1 ปีแล้ว (โดยประมาณ) เราก็ไม่ควรซื้อ นอกจากเราจะหวังทำกำไรในอีก 3 ปี และเรากะถือยาวมาก เพราะในอีก 3 ปีข้างหน้าหุ้นนี้อาจจะทำกำไรได้เป็น 150 ล้าน หรือ EPS = 1.5 ในอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งเมื่อคิดเป็น forward PE (3 ปีข้างหน้า) ก็จะเท่ากับ ราคาหุ้นวันนี้/กำไรต่อหุ้นใน 3 ปี =15/1.5 = 10 หมายความว่า ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่เราคาดไว้ หุ้นนี้จะมีราคาขึ้นไปเป็น (15/10)*1.5 = 22.5 ((PEที่ควรจะเป็น/forwardPE(3ปีข้างหน้า))*EPS(3ปีข้างหน้า)) นั่นคือเราได้กำไร 22.5-15 = 7.5 บาทหรือ 50% เช่นกันแต่ภายใน 3 ปี คิดต่อปีก็คร่าวๆคือ 15% เป็นต้นครับ

หุ้นที่ P/E สูง มาจากไหน ทำไมคนยังซื้อได้ลง?

มันก็มาจากการคาดหวังในการเจริญเติบโต (growth) ยิ่งตลาดคาดหวังมากก็ยิงให้ค่า P/E สูง แต่มันอาจจะไม่แพงก็ได้ ถ้ากิจการยังเติบโตได้อย่างดี

เช่น หุ้นค้าปลีกสุดฮอทตัวนึง มีค่า P/E 30 เท่า ถ้าเรามองในแง่ที่ว่า กิจการมีอนาคตที่สดใสรออยู่เติบโตได้ปีละ 30 % ต่อเนื่อง P/E ในอนาคตมันก็จะลดลง

โอ้ว!!! ดูเหมือนถ้ากิจการไปได้ดี ราคาหุ้นก็ไปได้ดีด้วย เหมือนแทบไม่มีที่สิ้นสุด
แต่… ในความเป็นจริงมีเรื่องเช่นนั้นหรือไม่? บางกิจการตั้งอยู่นานแต่ปัจจุบันได้หายไปแล้ว
บางกิจการถูกควบรวม บางกิจการหันไปทำธุรกิจใหม่ๆเหลือไว้แต่ชื่อเดิม ฯลฯ

เพราะฉะนั้นในการหาหุ้นที่จะทำกำไรให้เราได้ยาวนาน ก็ต้องเป็นหุ้นของกิจการที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนเท่านั้น ซึ่งนักลงทุนจะต้องมองกิจการให้ตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด และคาดหวังผลตอบแทนจากหุ้นอย่างสมเหตุสมผล ด้วยสมมุติฐาน และข้อมูล ความรู้ ความมีวินัย การควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมในการลงทุน ให้สมเหตุสมผลที่สุด

เทคนิคการเอาตัวรอดจากเจ้ามือในตลาดหุ้นด้วย P/E ratio

คุณโจ ลูกอิสานให้คำนิยามไว้ว่า “เจ้ามือตัวจริง” คือผลประกอบการ (E : Earning)” เฮียคลายเครียดเลยต่อยอดเพิ่ม “เจ้ามือแดกด่วน” เข้าไป โดยถือว่า เจ้ามือแดกด่วนเป็นคนให้ค่ากับเจ้ามือตัวจริงผ่านราคา (P : Price)

ในความเห็นของเฮียคลายเครียด

  • เจ้ามือตัวจริง มีหน้าที่ทำค่า E ให้ดีๆหรือแย่ๆ
  • ส่วนเจ้ามือแดกด่วน มีเป้าหมายทำค่า P ให้ดีๆ หรือแย่ๆ เพื่อสวนเกินทุน ในพอร์ตตัวเอง

เมื่อไร ค่า P/E ที่ได้ เกิดการเสียสมดุล เพราะใส่ค่า P ให้กับค่า E มากเกินจริงของปัจจุบัน ก็จะเกิด ปรากฏการณ์ชั่วคราว อย่าง หุ้นไก่ หุ้นสะดวกซื้อเกิดขึ้น

ส่วนใครที่คาดการณ์ค่า E ในอนาคตได้แม่น และลงมือซื้อก่อน ย่อมมีแต้มต่อด้าน margin of safety เหนือว่าคนที่ตามมาทีหลัง ยิ่งลงมือซื้อตอน ค่า P ยังต่ำแยกทางกันเดินอย่างสร้างสรรค์กับค่า E ได้มากเท่าไร มูลค่าพอร์ต ก็ยิ่งโตเร็วมากขึ้นเท่านั้น

ทำไมค่า PE 10 เท่าจึิงเป็นตัวเลขยอดฮิต?

ค่าส่วนกลับของอัตราส่วนราคาต่อกำไร( P/E) ก็คืออัตราส่วนกำไรต่อราคา( E/P) ซึ่งเรียกว่า ผลตอบแทนของกำไร (Earning yield) ซึ่งก็แปลความหมายเป็นผลตอบแทนนั่นเอง ยิ่งมากยิ่งดี

  • ตัวอย่าง หุ้น y มี PE 6 เท่า ส่วนกลับ ก็คือ 1/6 =0.16 หรือ 16% ก็คือจ่ายเงินไป 1 บาท ได้เงินกลับมา(กำไร)0.16 บาททุกปีนั่นเอง

ศาลสั่งจ่าย3หมื่นล้าน! บ้าน ปูแพ้คดีโครงการถ่านหินในลา วต่อกลุ่ม “ศิวะ งานทวี”

ศาลสั่งจ่าย3หมื่นล้าน! บ้านปูแพ้คดีโครงการถ่านหินในลาวต่อกลุ่ม “ศิวะ งานทวี”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 กันยายน 2555 20:11 น.

ASTVผู้จัดการรายวัน – “บ้านปู”อ่วม! ศาลสั่งจ่ายชดเชยความเสียหาย ให้ ” กลุ่มศิวะ งานทวี และพวก ” กรณีข้อพิพาทโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์ที่เมืองหงสา ลาว ด้วยเงิน 31,000 ล้านบาท ด้านทนายความเชื่อเรื่องไม่ยุติง่ายๆ เหตุเม็ดเงินต่ำกว่าประเมิน ด้านบ้านปูเตรียมยื่นอุธรณ์ กดราคาหุ้นร่วง 6 บาท

วันนี้(20ก.ย.) ศาลพิพากษากรณีคดีความระหว่าง บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU และนายศิวะ งานทวีและกลุ่มบริษัทของนายศิวะ ซึ่งได้ยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อ BANPU และบริษัทย่อยประกอบด้วย บริษัท บ้านปูอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท บ้านปูเพาเวอร์ จำกัด นายชนินท์, นายชาญชัย ชีวะเกตุ และนายองอาจ เอื้ออภิญญกุล โดยเรียกค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 63,500 ล้านบาทและผู้บริหารของบริษัทฯ ซึ่งเป็นคดีความตั้งแต่ ปี 50 นั้น

โดยกล่าวอ้างว่า BANPU บริษัทย่อยและผู้บริหารทำการหลอกลวงโดยเข้าร่วมทำสัญญาร่วมทุนกับนายศิวะกับพวก ประกอบด้วย บริษัท ไทยลาวลิกไนท์ จำกัด บริษัท หงสาลิกไนท์ จำกัด บริษัท ไทยลาวเพาเวอร์ จำกัด และบริษัท เซ้าอีสท์ เอเซียเพาเวอร์ จำกัด เพื่อประสงค์จะได้ข้อมูลสัมปทานเหมืองถ่านหินรวมทั้งรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์ที่เมืองหงสา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (โครงการหงสา ) หลังจากนั้นใช้สิทธิไม่สุจริตในการรายงานเท็จ ทำให้รัฐบาลลาวยกเลิกสัมปทานเหมืองถ่านหินและสัญญาก่อสร้าง และดำเนินกิจการโรงงานผลิตไฟฟ้าของนายศิวะกับพวกเพื่อที่ BANPU จะได้เข้าทำสัญญากับรัฐบาลลาวเอง

อย่างไรก็ดี วันนี้ ศาลได้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 คือ BANPU ส่งคืนเอกสารข้อมูลจำเพาะต้นฉบับ 13 รายการ ให้แก่โจทย์ทั้ง 5 คือกลุ่มนายศิวะและพวก กับให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชำระค่าเสียหายอีก 4 พันล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวตั้งแต่วันฟ้อง(ฟ้องเมื่้อ 3 ก.ค.50 ) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทย์ทั้ง 5 และให้จำเลยที่ 1 และ 3 ร่วมกันชำระค่าขาดประโยชน์ในอนาคตอีกนับแต่ปี 58-ปี 70 ในอัตราปีละ 860 ล้านบาท และในอัตราปีละ 1,380 ล้านบาท นับแต่ปี 71 จนถึงปี 82 ซึ่งรวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้นจำนวน 31,000 ล้านบาท

โดยให้ชำระภายในวันสิ้นปีของแต่ละปี หากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ผิดนัดไม่ชำระในแต่ละปี ให้เสียดอกเบี้ยในะหว่างระยะเวบลาที่ผิดนัดอีกร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินต้นที่ผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้ง 5 โดยกำหนดค่าทนายความ 5 ล้านบาท ยกฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 และยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนของโจทก์ที่ยกฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 4 ที่5 และที่ 6 และในส่วนของฟ้องแย้งเป็นพับ

นายธีระพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สำนักงาน ฟาร์อีสท์ (ประเทศไทย ) จำกัด ในฐานะทนายความ ของกลุ่มนายศิวะ เปิดเผยว่าผลการตัดสินดังกล่าวคงไม่ยุติเพียงเท่านี้ เพราะ BANPU เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ การรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นจึงเป็นสิ่งที่บริษัทจะต้องทำต่อไป ดังนั้น เป็นไปได้ที่ BANPU จะยื่นอุธรณ์ต่อศาลแน่นอน

” ส่วนเราก็จะยื่นอุธรณ์เช่นกัน เพราะมูลค่าความเสียหายที่ศาลพิพากษาออกมาคำนวณออกมาแล้วโจทก์จะได้เงินเพียง 31,000 ล้านบาท แต่เขายื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายไป 63,000 ล้านบาท ตัวเลขได้ไม่ถึงครึ่ง หากนำตัวเลขการจ่ายตามคำสั่งศาล มาคำนวณแล้วมันจะต่ำลง เพราะต้องมองถึงหลักการในอนาคตด้วย ซึ่งจะต้องใช้การคำนวณตามที่ต้องนำ NPV ( net present value ) ซึ่งเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ ซึ่งหากนำมาคำนวณในวันข้างหน้ามูลค่าก็อาจถูกลดทอนลงไปอีก คือคงไม่ได้ตามตัวเลขที่ศาลสั่ง ทั้งที่โจทก์ก็เสียหายจากการกู้ยืมเงินเพื่อมาลงทุน ณ ขณะนั้นเกือบ 8 พันล้านบาท ค่าเสียโอกาสและอื่น ๆ ผมว่ามันคงไม่จบง่าย ๆ หรอกครับ ”

ขณะที่ BANPU แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเรื่องดังกล่าว บริษัทไม่เห็นด้วยต่อคำพิพากษาของศาลแพ่ง และจะใช้สิทธิในการอุธรณ์ต่อไป

สำหรับความเคลื่อนไหวราคาหุ้น บมจ.(บ้านปู) วันนี้(20ก.ย.) ปิดที่ระดับ 442.00 บาท ลดลง 6.00 บาท หรือ 1.34% มูลค่าการซื้อขาย 1,236.50 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า(19ก.ย.) ที่อยู่ในระดับ 448.00 บาท

ข้อมูลจากเว็บไซต์กรีนพีช เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุว่า โครงการเหมืองแร่หงสา มีทำการสำรวจมาตั้งแต่ปี พ.ศ 2539 และเริ่มเข้าก่อตั้งบริษัทในพื้นที่ปี พ.ศ. 2545 โครงการประกอบด้วยสองส่วน ส่วนแรก การทำเหมืองแร่เพื่อป้อนลิกไนต์ให้โรงไฟฟ้า ส่วนที่สอง โรงไฟฟ้าถ่านหิน รัฐบาลลาวได้เซ็นสัญญาสัมปทานสำหรับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานกับบริษัทหงสาเพาเวอร์เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา เป็นมูลค่า 847 พันล้านกีบ

เหมืองแร่และโรงไฟฟ้าลิกไนต์หงสาตั้งอยู่ที่เมืองหงสา ของจังหวัดไชยบุรี ในประเทศลาว ห่างจากใจกลางเมืองหงสาประมาณ 10 กิโลเมตร และห่างจากชายแดนไทย ที่จังหวัดน่านเพียง 30 กิโลเมตรเท่านั้น และห่างจากเวียงจันทน์กว่า 300 กิโลเมตร ลักษณะของเหมืองเป็นเหมืองเปิดคล้ายกับเหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง มีพื้นที่เหมืองประมาณ 76.2 ตารางกิโลเมตร พื้นที่เหมืองมีลักษณะเป็นป่า มีชุมชนที่จะต้องโยกย้าย จำนวน 6 หมู่บ้าน จำนวน 400 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ

การทำเหมืองถ่านลิกไนต์ มีผู้ถือหุ้นคือ ลาวโฮลดิ้งสเตสเอนเตอร์ไพส (LHSE) ถือหุ้น 25% ในกิจการเหมืองลิกไนต์ และบริษัท บ้านปูเพาเวอร์ จำกัด (BPP) ถือหุ้น 37.5% ส่วนที่เหลือเป็นของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) คือ ถือหุ้น 37.5% ส่วนที่สอง โรงไฟฟ้าลิตกระแสไฟฟ้า ลาวโฮลดิ้งสเตสเอนเตอร์ไพส (LHSE) ถือหุ้น 20% และบริษัทบ้านปูเพาเวอร์ จำกัด (BPP) และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) ถือหุ้น 40% มีการลงนามข้อตกลงกับบริษัท การก่อสร้างโรงไฟฟ้า 302 พันล้านกีบ (3.7 พันล้านดอลลาร์) มีกำหนดที่จะเริ่มต้นภายในสิ้นปีพ.ศ. 2553

โรงไฟฟ้าหงสาจะเป็นโรงไฟฟ้าลิกไนต์แห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในลาว มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 1,878 เมกะวัตต์ ครอบคลุมพื้นที่ 60 ตารางกิโลเมตร ตามข้อตกลงในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2550 ระหว่างรัฐบาลลาวและไทย ลาวจะเริ่มส่งจ่ายกระแสไฟฟ้า 7,000 เมกะวัตต์ ให้ประเทศไทยภายในปีพ.ศ. 2553 สำหรับโรงไฟฟ้าลิกไนต์หงสานั้นมีการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้ประเทศไทย โดยบริษัทหงสาเพาเวอร์ จำกัด (HPC) ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในเดือนเมษายนพ.ศ. 2553 จำนวน 1,473 เมกะวัตต์ต่อปี เป็นเวลา 25 ปี ทันทีที่โรงไฟฟ้าสามารถเดินเครื่องในปีพ.ศ. 2558 กำลังการผลิตที่เหลือระหว่าง 100-170 เมกะวัตต์ จะถูกจ่ายให้กับการไฟฟ้าลาว Electricite du Laos (EDL) เพื่อใช้ภายในประเทศ กับส่วนที่เหลือจะถูกใช้ในโครงการการทำเหมืองถ่านหิน และการดำเนินงานผลิตไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าหงสาถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 จะเริ่มจ่ายไฟจากโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 1-2 จำนวน 982 เมกะวัตต์ ภายในเดือนพฤษภาคม 2558 และโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 3 จะจ่ายไฟฟ้า 491 เมกะวัตต์ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2559

By TrendyStock เขียนใน Stock Tagged

‘หุ้นดี’ …ดูอย่างไร – Value Way : วิบูลย์ พึงประเสริฐ

‘หุ้นดี’ …ดูอย่างไร – Value Way : วิบูลย์ พึงประเสริฐ

ก.ย. 16th, 2009

ถ้าท่านศึกษาบทวิเคราะห์ หรือคำแนะนำของโบรกเกอร์ตาม นสพ.ต่างๆจะพบอยู่บ่อยๆ ว่า มักจะมีคำแนะนำของนักวิเคราะห์ให้ซื้อ ‘หุ้นพื้นฐานดี’ เก็บไว้ลงทุนระยะยาว บางแห่งก็จะบอกชื่อหุ้นให้ซื้อลงทุนเรียบร้อย โดยที่ท่านไม่ต้องไปปวดหัวกับการค้นหา ‘หุ้นพื้นฐานดี’ อย่างที่กล่าวไว้

ขณะที่นักลงทุนจำนวนมากซื้อหุ้นตามที่มีคนบอก จากนั้นจึงค่อยไปศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจนั้นเพิ่มเติมตามหลัง หรือลงทุนโดยซื้อหุ้นตามที่มีคนแนะนำให้เราซื้อหุ้นตัวนั้นตัวนี้ โดยที่เราไม่ได้เข้าใจ และศึกษาธุรกิจนั้นอย่างถ่องแท้ด้วยตัวเอง

วิธีการดังที่กล่าวมา จึงไม่ใช่วิธีที่ ‘นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า’ หรือ Value Investor ควรปฏิบัติ

สำหรับ ‘นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า’ ควรจะทำศึกษาหุ้นตัวนั้นและการบ้านอย่างหนักก่อนที่จะลงทุนซื้อหุ้นบริษัทไหนสักบริษัทหนึ่ง

การหา ‘หุ้นพื้นฐานดี’ นั้นไม่ยากเกินความสามารถและเราสามารถค้นหาได้ด้วยตัวเราเอง ยิ่งถ้าเราเข้าใจในธุรกิจที่เราลงทุนแล้ว เราก็ไม่ต้องไปกังวลกับสภาพของตลาดหุ้น ที่ราคาหุ้นอ่อนไหวไปตาม ‘ความโลภ’ และ ‘ความกลัว’ ของอารมณ์นักลงทุนทั้งหลายในตลาด

หุ้นพื้นฐานดีสามารถบอกได้โดยดูจากงบการเงินของบริษัทนั้น ก็คือ งบดุล งบการเงิน และงบกระแสเงินสด โดยดูย้อนหลังไปหลายๆ ปี เพื่อป้องกันการตกแต่งบัญชี และดูความสามารถของบริษัทว่าแข็งแกร่งจริงหรือไม่

วิธีดูหุ้นพื้นฐานดีที่จะกล่าวในที่นี้ จะพูดถึงเฉพาะหุ้นที่มีประวัติการดำเนินงานที่ดี โดยไม่ได้ครอบคลุมถึงหุ้นที่เพิ่งผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ (Turnaround) ที่ผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในเวลาไม่นาน

ลักษณะที่ดี 9 ประการของ ‘หุ้นพื้นฐานดี’ ควรจะมีดังต่อไปนี้

1.มียอดขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

หุ้นที่ดีควรจะมียอดขายที่เติบโตขึ้น ถ้าเติบโตเพิ่มขึ้นได้ทุกปีก็จะดีมาก แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจนั้นมีการขยายตัว และสามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมนั้นได้ ส่วนหุ้นที่มียอดขายสาละวันเตี้ยลงทุกปีทุกปี น่าจะเป็นหุ้นที่ควรหลีกเลี่ยง หมายถึงว่า กิจการนั้นกำลังถูกคู่แข่งแย่งตลาดสินค้าไป หรือไม่ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นก็อาจจะอยู่ในข่ายอุตสาหกรรมตะวันตกดิน (sunset industry) หรือผู้บริหารมีปัญหาในการดำเนินกิจการ แต่ยอดขายเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าหุ้นนั้นเป็นหุ้นพื้นฐานดีหรือไม่ ต้องใช้ปัจจัยอีกหลายอย่างในการวิเคราะห์ธุรกิจ ดังจะกล่าวต่อไป

2. มีการควบคุมต้นทุนการดำเนินงานที่ดี

บริษัทที่มีการควบคุมการดำเนินงานที่ดี เราสามารถตรวจสอบดูได้จากงบกำไรขาดทุน โดยสังเกตจากต้นทุนสินค้าและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ควรจะไปตามยอดขายของกิจการ ถ้ายอดขายสูงขึ้นค่าใช้จ่ายก็สามารถอนุโลมให้เพิ่มขึ้นได้ตามสัดส่วนยอดขายที่สูงขึ้น แต่ธุรกิจที่ยอดขายลดลงแต่ต้นทุน และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น นักลงทุนควรจะระวังและถ้าเกิดขึ้นเป็นประจำควรตรวจสอบให้ดีก่อนลงทุนในบริษัทนั้น

3. ไม่ประสบปัญหาขาดทุน

บริษัทที่ดีควรจะมีความสามารถในการทำกำไรอย่างสม่ำเสมอ บริษัทที่ประสบภาวะขาดทุน เป็นการแสดงให้เห็นถึงการขาดประสิทธิภาพของผู้บริหาร ถ้าขาดทุนตลอดปีหรือไม่ ก็ขาดทุนปีเว้นปี นักลงทุนควรเอาเวลาไปศึกษาธุรกิจอื่นจะดีกว่า ยกเว้นท่านที่ชอบลงทุนใน ‘หุ้นฟื้นคืนชีพ’ (Turnaround) ที่ขาดทุนมาหลายปีอยู่ดีๆ ก็กลับมาทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ อันนี้ก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน แต่สำหรับท่านที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการลงทุนมากนัก ควรหลีกเลี่ยงหุ้นที่มีผลดำเนินงานขาดทุนจะปลอดภัยกว่า

4. เงินทุนหมุนเวียนเป็นบวก (Positive Working Capital)

ธุรกิจที่ดีควรมีทรัพย์สินหมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน เพราะธุรกิจควรมีการเตรียมความพร้อมของเงินทุนระยะสั้นให้เพียงพอต่อการจ่ายคืนหนี้สินระยะสั้น มิฉะนั้นธุรกิจอาจจะมีปัญหาการเงินเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะบริษัทที่ทำการกู้ยืมระยะสั้นมาก อาจจะต้องสำรองเงินสดไว้พอสมควรทีเดียวสำหรับการจ่ายคืนหนี้ที่เรียกเก็บภายใน เวลาไม่นาน ยกเว้นธุรกิจบางประเภท เช่น ธุรกิจค้าปลีก หรือค้าส่ง ที่รับเงินจากการขายให้กับลูกค้าเป็นเงินสดแต่ได้เครดิตจากผู้ผลิตสินค้าเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่จะจ่ายเงิน ในกรณีนี้เงินทุนหมุนเวียนอาจจะติดลบได้ ซึ่งกลับกลายเป็นจุดแข็งสำหรับธุรกิจประเภทนี้เสียอีก เพราะแทนที่จะต้องมีเงินสำหรับของที่อยู่ในสต็อกกลับเป็นผู้ผลิตสินค้าที่จะต้องเป็นคนจ่ายเงินค่าสินค้าคงคลังแทน

5. มีหนี้ไม่มากหรือมีหนี้อยู่ในฐานะที่เหมาะสม

ตัวเลขคร่าวๆ ที่ใช้กันส่วนใหญ่ในการตรวจสอบสภาพหนี้สินของธุรกิจก็คือ ‘อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน’ (Debt/Equity Ratio) ธุรกิจที่มีหนี้สินต่อทุนสูง แสดงว่า มีการกู้ยืมหนี้ระยะยาวมาก และทำให้ธุรกิจนั้นมีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจสูง อัตราหนี้สินต่อทุนที่พอเหมาะที่ใช้กันทั่วไปคือ น้อยกว่าหนึ่งเท่า หรือไม่เกินสองเท่า

6. มีกำไรสะสม (Retain Earning) เพิ่มขึ้นทุกปี

ธุรกิจที่ดีควรมีกำไรสะสมเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และสามารถนำกำไรสะสมนั้นไปลงทุนต่อให้งอกเงยเพิ่มมากขึ้นจากเดิม ธุรกิจที่มีกำไรสะสมลดลง นักลงทุนควรตั้งคำถามก่อนที่จะลงทุนในบริษัทนั้นว่า บริษัทนำกำไรสะสมนั้นไปใช้ ทำอะไรและมีประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นหรือไม่

7. มีส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholder Equity) เพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ

บริษัทที่สามารถเพิ่มส่วนของผู้ถือหุ้นได้อย่างสม่ำเสมอนับว่า เป็นธุรกิจที่น่าสนใจ แสดงให้เห็นถึงความสามารถของผู้บริหารในการนำเงินของบริษัทไปลงทุนในกิจการที่มีประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น ควรหลีกเลี่ยงบริษัทที่มีส่วนผู้ถือหุ้นลดลงหรือติดลบ แสดงว่า ธุรกิจนั้นที่ผ่านมามีการขาดทุนเกิดขึ้น

8. กำไรต่อยอดขาย (Profit Margin) มากพอสมควร

ธุรกิจที่มีกำไรต่อยอดขายสูง แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการควบคุมต้นทุนของกิจการในระดับที่ดี แต่กำไรต่อยอดขายสูง อาจจะดึงดูดให้คู่แข่งหน้าใหม่ๆเข้ามาในอุตสาหกรรมนั้นมากขึ้น ในขณะที่ธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมมีการแข่งขันสูงส่วนมากจะมีกำไรต่อยอดขายต่ำ เพราะมีการตัดราคาสินค้าเพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าและบริการของตน ทำให้กำไรของทั้งอุตสาหกรรมลดลง ดังนั้น ธุรกิจที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงก็คือ ธุรกิจที่มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ (Cost Leadership)

9. ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (Return on Equity) สูง

ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น คำนวณจาก กำไรหารด้วยส่วนผู้ถือหุ้น (Net Profit/ Equity) ธุรกิจที่มีผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นสูงแสดงว่า ผู้บริหารสามารถบริหารเงินทุนของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่บางธุรกิจที่มีเงินกู้ยืมสูงก็อาจจะทำให้ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นสูงขึ้นได้ เพราะเงินลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของหนี้สินระยะยาวมากกว่าส่วนผู้ถือหุ้น ดังนั้น ในบางกรณีอาจจะจำเป็นต้องใช้อัตราส่วนผลตอบแทนต่อเงินลงทุน (Return on Total Capital) ในการตรวจสอบความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจนั้น จะเหมาะสมมากขึ้น เนื่องจากได้รวมส่วนหนี้สินระยะยาวในการคำนวณไว้ด้วย

ผลตอบแทนต่อเงินลงทุน หาได้จากกำไรหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นและหนี้สินระยะยาว (Net Profit/(Longterm Liability+Equity)) บริษัทที่มีผลตอบแทนต่อเงินลงทุนสูง จะน่าสนใจกว่าบริษัทที่มีอัตราส่วนนี้ต่ำ

การค้นหาลักษณะที่ดี 9 ประการข้างต้นของหุ้นที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะช่วยให้ท่านมีความรู้ความเข้าใจในหุ้นที่ท่านลงทุนมากขึ้น แทนที่จะรอให้คนอื่นหรือนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ตามโบรกเกอร์ต่างๆ มาแนะนำ ‘หุ้นพื้นฐานดี’ ให้กับท่าน

ท่านสามารถที่จะเริ่มศึกษาและค้นหา ‘หุ้นพื้นฐานดี’ ได้ด้วยตัวท่านเอง ซึ่งนับว่าเป็นหนทางในการเป็น ‘นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า’ หรือ Value Investor ที่ดีทางหนึ่ง

นิสัยเซียน : ดร.นิเวศน์ เหมว ชิรวรากร

นิสัยเซียน : ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

พ.ย. 20th, 2010


.
เซียนหุ้นชั้นนำของโลกแต่ละคนมักมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน แต่ละคนมักมีเอกลักษณ์ของตนเอง แต่ศึกษาดูจะพบว่าเซียนเหล่านั้นมักมีนิสัยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันในหลายๆเรื่อง และต่อไปนี้คือนิสัยที่ผมคิดว่าเราควรศึกษาและประยุกต์ใช้ ถ้าเราอยากจะเป็น “เซียน” บ้าง
.
เรื่องแรกก็คือ เซียนตัวจริงนั้น เวลาลงทุน เรื่องที่คิดมากที่สุดกลับไม่ใช่ว่าจะทำกำไรได้มหาศาลแค่ไหน แต่เป็นว่า จะรักษาเงินต้นเอาไว้ได้อย่างไร และนี่ก็คือกฎข้อหนึ่งและข้อสองของ วอเร็น บัฟเฟตต์ ซึ่งบอกว่า หลักการลงทุนที่สำคัญที่สุดก็คือ อย่าขาดทุน และอย่าขาดทุน
.

เรื่องที่สองก็คือ การลงทุนนั้น เซียนแต่ละคนจะมีหลักปรัชญา หลักการ และวิธีการลงทุนที่ชัดเจนเป็นแบบฉบับของตนเอง ไม่มีการมั่วหรือเป็น “มวยวัด” สิ่งต่างๆเหล่านั้นถูกพัฒนาและทดสอบมาเป็นอย่างดีเป็นเวลายาวนาน และจะไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกลับไปกลับมา
.
เรื่องที่สามก็คือ เซียนหุ้นนั้นไม่ชอบความเสี่ยงแต่ชอบความแน่นอน และความ “ได้เปรียบ” เวลาจะลงทุนอะไรมักจะคิดถึงโอกาสชนะว่ามีสูงกว่าโอกาสที่จะแพ้มากน้อยแค่ไหน ถ้าโอกาสชนะมากกว่าแพ้เพียงเล็กน้อย เขามักจะ “ไม่เล่น” เพราะฉะนั้น เราจะไม่เห็นคนเหล่านี้เล่นรูเล็ตหรือเข้าคาสิโนเพื่อการพนันซึ่งโอกาสชนะมี แค่ 30-40% ขณะที่โอกาสแพ้อยู่ที่ 60-70% แต่การลงทุนที่โอกาสชนะสูงมากๆนั้นมีไม่มาก ดังนั้นเซียนจึงมักไม่เล่นหรือลงทุนบ่อยนัก
.
เรื่องที่สี่ก็คือ เซียนนั้นลงทุนในสิ่งที่ตนเองรู้จักดี มีการวิเคราะห์และคิดเอง ไม่เชื่อคนอื่นโดยไม่ได้พิจารณาด้วยตนเองอย่างลึกซึ้ง ในทางตรงกันข้าม เซียนจะไม่ลงทุนในสิ่งที่ตนเองไม่เข้าใจ หรือการลงทุนนั้นไม่เข้าเงื่อนไขที่ตนเองกำหนด หรือตนเองไม่สบายใจที่จะลง ตัวอย่างเช่นหุ้นที่มีค่า PE และ/หรือ PB สูงเกินไป หุ้นที่ผู้บริหารไม่น่าไว้วางใจ เป็นต้น แม้ว่าหุ้นเหล่านั้นอาจจะทำกำไรให้ได้ง่ายและเร็วในบางสถานการณ์
.
นิสัยที่ห้าก็คือ เซียนส่วนใหญ่จะไม่ “กระจายความเสี่ยง” โดยการกระจายการถือหุ้นมากเกินไป เซียนมักจะมีหุ้นหลักตัวใหญ่ๆในพอร์ตซึ่งเป็นตัวที่จะกำหนดผลงานหรือความเป็นความตายในการลงทุนเพียงไม่กี่ตัวแม้ว่าเขาจะมีหุ้นย่อยๆเป็น 10 หรือ 100 และแม้แต่ 1,000 ตัว อย่างพอร์ตของ ปีเตอร์ ลินช์ หุ้นตัวหลักๆเหล่านั้นก็คือหุ้นที่สร้างความแตกต่างและทำให้เซียนเป็นเซียนขึ้นมาได้
.
ข้อสรุปในเรื่องนี้ก็คือ การเป็นเซียนนั้น คุณไม่จำเป็นที่จะต้องเลือกหุ้นถูกทุกตัวหรือแม้จะเป็นส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ ข้อสำคัญก็คือ ในหุ้น 10 ตัว คุณอาจจะเลือกถูกเพียง 3 ตัว แต่ถ้าหุ้น 3 ตัวนั้นเป็นหุ้นที่ทำกำไรมหาศาลก็เพียงพอแล้วสำหรับผลงานที่ดีเยี่ยม
.

นิสัยที่หกก็คือ เซียนหุ้นตัวจริงนั้นมี “EQ” ของการลงทุนสูง ไม่ใคร่หวั่นไหวกับภาวะตลาดผันผวนหรือข่าวต่างๆ ที่อาจจะดูรุนแรงแต่ผลกระทบจริงต่อการลงทุนมีน้อย นิสัยในกลุ่มนี้ที่ผมเห็นว่ามีความสำคัญก็คือ เซียนหุ้นนั้นมักใจเย็น สามารถอดทนรอได้อย่าง “ไม่มีเวลาจำกัด” ถ้ายังไม่เห็นโอกาส ขณะเดียวกัน ถ้าเห็นโอกาส “ลอยมาตรงหน้า” เซียนหุ้นสามารถตัดสินใจ และลงมือได้ทันทีไม่มีการผัดวันประกันพรุ่ง หรือต้องไปศึกษาพินิจพิจารณายืดยาว ความรู้สึกของผมก็คือ เซียนหุ้นชั้นนำคงจะมีความคิดต่างๆอยู่ในใจที่พร้อมอยู่แล้ว เมื่อโอกาสเปิดก็คว้าได้ทันที
.
พฤติกรรมที่เจ็ดของเซียนหุ้นก็คือ ยอมรับความผิดพลาดและแก้ไขปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว ภาษาหุ้นและการลงทุนก็คือ สามารถ “Cut Loss” ได้ทันทีเมื่อเห็นว่าหลักทรัพย์ที่ตนถืออยู่ไม่เป็นไปตามที่คาด หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เหตุผลในการซื้อหมดไป พูดง่ายๆ เซียนหุ้นมักไม่ยอม “ติดหุ้น” อย่างนักลงทุนประเภท “แมงเม่า” ซึ่งไม่สามารถยอมรับความผิดพลาดโดยการขายหุ้นที่ขาดทุนมากทิ้งได้
.
ข้อแปดที่ผมเลือกมาก็คือ เซียนหุ้นนั้น เวลาลงทุนแต่ละครั้งจะต้องมี “Story” หรือเรื่องราว หรือเหตุผลหลักว่าทำไมจึงลงทุนในหุ้นหรือหลักทรัพย์นั้น ซึ่งไม่ใช่เพราะคิดว่าราคาหุ้นจะขึ้น แต่จะต้องเป็นเรื่องอื่นๆที่เมื่อเกิดขึ้นจะส่งผลต่อราคาหุ้นในที่สุด เรื่องราวอาจเป็นได้ทั้งเรื่องระยะสั้นหรือระยะยาว อาจเป็นได้ทั้งเรื่องของตัวธุรกิจเอง หรือเรื่องภายนอกที่จะส่งผลอย่างสำคัญต่อตัวธุรกิจและราคาหลักทรัพย์ในที่สุด
.
นิสัยที่เก้าก็คือ เซียนหุ้นนั้นมักจะเป็นคนบ้าหุ้น หายใจเข้าออกเป็นเรื่องของการลงทุน ทรัพย์สมบัติส่วนใหญ่ของตนมักจะอยู่ในหลักทรัพย์ การลงทุนเป็นชีวิตจิตใจ แต่ไม่ใช่คนที่เฝ้ากระดานหุ้น ติดตามราคาหุ้นทุกนาที เพราะเซียนหุ้นตัวจริงนั้นไม่จำเป็นและมักไม่สนใจการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น ในระยะสั้น เซียนหุ้นชอบศึกษาและติดตามความเป็นไปของกิจการ ภาวะแวดล้อม และประเด็นอื่นๆที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์มากกว่า
.
สุดท้ายก็คือ นิสัยส่วนตัวของเซียนการลงทุน ที่ดูแล้วก็น่าแปลก ค่าที่ว่าเซียนหุ้นมักจะเป็นคนที่มีความมั่งคั่งมหาศาล (ถ้าไม่มั่งคั่ง ใครจะเรียกว่าเป็นเซียน!) แต่ส่วนใหญ่แล้วกลับใช้ชีวิตธรรมดาแบบคนชั้นกลางระดับสูงเล็กน้อย และไม่มีใครเลยที่ใช้ชีวิตความเป็นอยู่สูงกว่าระดับความมั่งคั่งของตนเอง ทั้งที่ดูไปแล้ว เงินสำหรับเซียนนั้น หามาได้ง่ายและเร็ว แต่คนเหล่านั้นกลับไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ชอบใช้เงินในสิ่งที่ไม่จำเป็นหรือใช้เงินไม่คุ้มค่า
.
นิสัยทั้ง 10 ข้อนี้ ไม่ได้หมายความว่าเซียนทุกคนต้องมีเหมือนกันหมด เพียงแต่เป็นนิสัยที่เซียนหลายๆคนที่ผมศึกษามี และผมคิดว่านิสัยหลายๆข้อมีส่วนสำคัญในการสร้างความสำเร็จในการลงทุนให้แก่เขา และผมเชื่อว่า ถ้า Value Investor นำเอาไปใช้และทำให้เป็นนิสัย โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุนคงจะมีสูงขึ้น
.
นิสัยเซียน
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
22 ตุลาคม 2547

STA น่ากลัว

STA น่ากลัวมากครับ หลังจาก RSI กับราคาทำ Divergent แล้ว ราคาวิ่งไปจุดสูงสุดแล้วตัดลง 16.8 เป็นจุดสูงสุด ระยะสั้นมีโอกาสลงสูงมากถึงแนวรับ 15(61.8%) บาทเลย

นั่งยันอีกด้วยรูปแบบ Evening Doji Star วันที่ 3 ยึนยันขาลงอีก เวฟนี้ควรประกอบด้วย 5 คลื่น นี่เป็นคลื่นที่ 1 แต่ MACD ยังอยู่เหนือน้ำ โอกาสลงแล้วเด้งก็มีสูง
ผมก็ดันติดตัวนี้ ไม่ได้ขาย

By TrendyStock เขียนใน Stock

HOTPOT

วันที่/เวลา 17 ก.ย. 2555 08:57:43
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ. ไตรมาสที่ 2 (F45-1)
หลักทรัพย์ HOTPOT
แหล่งข่าว HOTPOT
รายละเอียดแบบเต็ม

สรุปผลการดำเนินงานของบจ. (F45-1) บริษัท ฮอท พอท จำกัด (มหาชน)

(หน่วย : พันบาท)
งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน สอบทาน สอบทาน
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 30 มิถุนายน
ปี 2555 2554 2555 2554
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 21,322 18,861 32,093 37,766
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 0.06 0.08 0.09 0.17 ต่อหุ้น (บาท)

ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไข

หมายเหตุ

โปรดดูรายละเอียดงบการเงิน รายงานของผู้สอบบัญชี และหมายเหตุประกอบ งบการเงินจากระบบบริการข้อมูลตลาดหลักทรัพย์

“ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ พร้อมกันนี้บริษัทได้จัดส่งงบการเงิน
ฉบับเต็มผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์และส่งต้นฉบับให้กับสำนักงาน ก.ล.ต. เรียบร้อยแล้ว”

ลงลายมือชื่อ ___________________________ ( นางสาวสกุณา บ่ายเจริญ ) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ

หนังสือชี้ชวน
> http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fin2/cgi-bin/final69.php?txt_compid=1204&txt_offerid=000979&txt_secuid=01&txt_offertypeid=01&txt_language=t&txt_applydate=2011-07-20&start_date=2012-09-07

By TrendyStock เขียนใน Stock Tagged

RML ติด Cash Balance

RML ติด Cash Balance น่าจะเป็นโอกาสเข้ารับได้ตอนราคาตกลงเยอะๆ หรือเปล่า รอวันออกจากคุก

By TrendyStock เขียนใน Stock Tagged

หุ้นที่ชาวสินธรจับตามอง 13-9-12

หุ้นที่ชาวสินธรจับตามอง 13-9-12

Clipped from: http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I12645176/I12645176.html

โชคดีร่ำรวยครับ

ตอนนี้ขาใหญ่ลงไปคุ้ยหาขยะขึ้นมาเล่น เก็งกำไรพอไหวเอาแค่พอประมาณถ้าคิดใหญ่ระวังจะเข้าเนื้อนะครับ

ตอนนี้งานผมเยอะมาก..เวลามีน้อยจริงๆ อย่างไร..หุ้นที่แนะนำก็ไม่ได้มั่วมาแปะนะครับ ผมพยายามจะหาหุ้นที่ขาใหญ่ไม่อยากจะทุบ..ตรงขาใหญ่เก็บของ ผู้สูงอายุไม่ต้องตื่นเต้นมากเพราะถ้าพลาดก็ลงไม่มากแต่ถ้ามันวิ่งขึ้นก็คุ้มค่าเพียงแต่บางตัวอาจต้องใช้เวลานานจนน่าเบื่อทีเดียว ตอนนี้ผมถึงจุดที่เรียกว่าถ้าเกิดตูมตามแบบเซ็ตร่วงเป็นร้อยจุด พวกดาวรุ่งจะไม่มีเหลือแต่ไม่นานเค้าก็จะเกิดขึ้นมาใหม่ให้พวกท่านเตรียมเงินซื้อชุดดาวรุ่งได้เลย ส่วนลุ้นรีบาวน์..ผมว่าโอเคแต่ต้องเป็นตัวที่อยู่ใน Set100 ตย. CPF , GFPT , SSI , MILL ,.. ซุ่มจับกระทิง CHUO , TVI , BLAND , TNPC , MINT , PTTGC .. ดูแล้วต้องเป็นตัวที่เด่นจริงๆหรือไม่ก็อยู่ใน Set100 ช่วยกันสังเกตุเจออะไรก็สะกิดบอกผมบ้าง จะได้เป็นแนวทางพัฒนาต่อไปนะครับ